6 กุมภาพันธ์ 2565

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามด้วยวัคซีนเชื้อตาย พาหะไวรัส และ mRNA ในผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายมาแล้ว 2 เข็ม

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามด้วยวัคซีนเชื้อตาย พาหะไวรัส และ mRNA ในผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายมาแล้ว 2 เข็ม
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม , ซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนต่างชนิดกัน คือวัคซีนเชื้อตาย (ซิโนฟาร์ม) วัคซีนพาหะไวรัส (แอสตร้าเซนเนก้า) และวัคซีน mRNA (ไฟเซอร์) ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีที่ได้รับวัคซีนเชื้อตาย (ซิโนแวค) ครบโดสแล้ว

วิธีการวิจัย  : 
  1. กลุ่มตัวอย่างสุขภาพดีจำนวน 177 ราย ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม มาแล้ว 3-4 เดือน ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อรับวัคซีนดังต่อไปนี้
    • ซิโนฟาร์ม (n = 60)
    • แอสตร้าเซนเนก้า (n = 60)
    • ไฟเซอร์ (n = 60)
  2. ผู้เข้าร่วมได้รับการคัดเลือกในขั้นต้นหลังจากมั่นใจว่าไม่มีประวัติการติดเชื้อ SARS-CoV-2
  3. ประเมินความปลอดภัยและระดับภูมิคุ้มกัน ในวันที่ 14 และ 28 หลังจากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
ผลการวิจัย  : 
  1. การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนพาหะไวรัสและวัคซีน mRNA มีสัดส่วนที่สำคัญของ Ig anti-receptor binding domain (RBD), IgG anti-RBD และการตอบสนองต่อ IgA anti-S1 ในขณะที่วัคซีนเชื้อตายมีการตอบสนองที่ต่ำกว่าชนิดอื่น
  2. แอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ของตัวอย่างเซรั่มที่ฉีดวัคซีนกระตุ้นมีการยับยั้งมากกว่า 90% ต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิม อัลฟา (B.1.1.7) เบตา (B.1.351) และเดลตา (B.1.617.2)
  3. ระดับของการตอบสนองของ T-cell ของ IFN-ɣ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังการฉีดวัคซีนพาหะไวรัสหรือ mRNA เป็นเข็มกระตุ้น
  4. การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทั้งหมดมีความปลอดภัย โดยไม่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง
ข้ออภิปราย  : 

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนพาหะไวรัส (แอสตร้าเซนเนก้า) หรือ mRNA (ไฟเซอร์) ในบุคคลที่มีประวัติเคยได้รับวัคซีนเชื้อตาย (ซิโนแวค) จำนวน 2 เข็ม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี และมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ยอมรับได้

อัพเดทข้อมูล  :  23/03/2565
แหล่งที่มา  :  MDPI journals
4 กุมภาพันธ์ 2565

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติวัคซีนซิโนแวคและซิโนฟาร์มในเด็ก 6 ปีขึ้นไป

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติวัคซีนซิโนแวคและซิโนฟาร์มในเด็ก 6 ปีขึ้นไป
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม , ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

ขยายขอบเขตการใช้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยไม่ต้องมีการปรับขนาดยา

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

21 – 28 วัน

ข้อห้าม

  • แพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน
  • เคยเกิดภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน จากวัคซีนชนิดอื่น

ข้อควรระวัง

  • ภาวะภูมิไวเกิน ผู้ได้รับวัคซีนควรเฝ้าระวังอาการแพ้ชนิดรุนแรงหลังฉีดเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
  • อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
    • ปวดบริเวณที่ฉีด 2.2 ปวดศีรษะ
    • มีไข้ อ่อนล้า หายใจลำบาก
  • อาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง
อัพเดทข้อมูล  :  10/02/2565
3 กุมภาพันธ์ 2565

หัวข้อวิจัย   :

ตามรอยสายพันธ์ุไวรัส SARS-CoV-2

Vaccines   :

ไม่มีข้อมูล
หัวข้อวิจัย  :  ตามรอยสายพันธ์ุไวรัส SARS-CoV-2
ชนิดวัคซีน  : 
จุดประสงค์  : 
  1. ตั้งชื่อสายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 ให้ง่ายต่อการออกเสียงและหลีกเลี่ยงการถูกตีตรา เพื่อการติดตามและหารือในที่สาธารณะ
  2. เพื่อประเมินวิวัฒนาการของสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่สามารถส่งผลถึงความรุนแรงของโรค หรือประสิทธิผลของวัคซีน ยารักษาโรค เครื่องมือวินิจฉัย หรือมาตรการด้านสาธารณสุขและทางสังคมอื่นๆ
วิธีการวิจัย  : 
  1. เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไวรัส โดยเฉพาะการแทนที่หรือเปลี่ยนตำแหน่งของกรดอะมิโนที่สำคัญ
  2. แจ้งเตือนประเทศและสาธารณะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จำเป็นต่อการรับมือของแต่ละสายพันธุ์
  3. กำหนดวิธี/มาตรการควบคุมโรค
ผลการวิจัย  : 
  1. เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOC)
    • เข้าตามเกณฑ์ของสายพันธุ์ที่น่าสนใจและอย่างน้อย 1 ข้อด้านล่าง
      • ความสามารถในการแพร่กระจายมากขึ้น
      • ความรุนแรงเพิ่มขึ้น
      • ลดประสิทธิผลของระบบสาธารณสุขหรือการวินิจฉัย วัคซีน การรักษา
    • เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลในปัจจุบัน ได้แก่ สายพันธ์ุอัลฟา (B.1.1.7 ), เบตา (B.1.351), แกมมา (P.1), เดลตา (B.1.617.2) และ โอมิครอน (B.1.1.529)
  2. เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (VOI)
    • มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่คาดการณ์ไว้ หรือเป็นที่ทราบกันดีว่าจะมีผลต่อคุณสมบัติของไวรัส เช่น ความสามารถในการแพร่กระจาย ความรุนแรงของโรค การหลบเลี่ยงภูมิ การวินิจฉัย ยารักษา และ
    • ได้รับการระบุว่าก่อให้เกิดการแพร่ระบาดในชุมชน/กลุ่มก้อนของผู้ป่วยโรคโควิด 19 จำนวนมาก ในหลายประเทศโดยมีความชุกเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยเมื่อเวลาผ่านไปหรือเกิดผลกระทบทางระบาดวิทยา ซึ่งแนะนำว่าคือความเสี่ยงที่อุบัติขึ้นต่อระบบสาธารณสุขโลก
    • เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจในปัจจุบัน ได้แก่ สายพันธ์ุแลมบ์ดา (C.37) และมิว (B.1.621)
  3. เชื้อกลายพันธุ์ภายใต้การตรวจสอบ (VUM)
    • เชื้อกลายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่สงสัยว่าจะส่งผลต่อลักษณะของไวรัส อาจมีความเสี่ยงในอนาคต แต่หลักฐานทางพันธุกรรมหรือทางระบาดวิทยายังไม่ชัดเจน ต้องการการติดตามและการประเมินซ้ำเพื่อรอหลักฐานใหม่เพิ่มเติม
  4. เชื้อกลายพันธุ์ที่ได้รับการตรวจสอบก่อนหน้านี้
    • เข้าตามเกณฑ์อย่างน้อย 1 ข้อด้านล่าง
      • ไม่มีรายงานการแพร่ระบาดทั่วโลก
      • เชื้อกลายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายมาเป็นเวลานานแต่ไม่มีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางระบาดวิทยา
      • ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องที่ชัดเจนต่อความกังวลที่เกิดขึ้น
ข้ออภิปราย  : 

ยังคงดำเนินการประเมินเปรียบเทียบลักษณะของสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 19 และความเสี่ยงด้านสาธารณสุข พร้อมทั้งติดตามและติดตามการแพร่กระจายทั่วโลก

อัพเดทข้อมูล  :  21/02/2565
แหล่งที่มา  :  องค์การอนามัยโลก
31 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ดำเนินการอนุมัติวัคซีนป้องกันโควิด 19 เป็นลำดับที่สอง

Vaccines   :

โมเดอร์นา
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ดำเนินการอนุมัติวัคซีนป้องกันโควิด 19 เป็นลำดับที่สอง
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

  • 2 เข็มสำหรับการได้รับวัคซีนครบตามมารตฐาน
  • 1 เข็มสำหรับการฉีดกระตุ้น

ระยะห่างระหว่างเข็ม

  • ห่างกัน 28 วันกรณีใช้เป็นวัคซีนหลัก
  •  อย่างน้อย 5 เดือน กรณีใช้เป็นวัคซีนกระตุ้น

ข้อห้าม

ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีนนี้

ข้อควรระวัง

1. ภาวะภูมิไวเกินและการแพ้ยาขั้นรุนแรง
2. ความวิตกกังวลจากการตอบสนองของการฉีดวัคซีน
3. การเจ็บป่วยร่วม
4. ภาวะเกล็ดเลือดน้อย และการแข็งตัวของเลือดบกพร่อง
5. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

หมายเหตุ

นอกจากนี้ยังได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นแบบไขว้ (mix and match) สำหรับบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไปหลังจากได้รับวัคซีนหลักต่างชนิดกัน

อัพเดทข้อมูล  :  10/02/2565
29 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธ์ุโอมิครอน (Omicron) ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้นที่แตกต่างกัน

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย) โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธ์ุโอมิครอน (Omicron) ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้นที่แตกต่างกัน
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม , ซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย) , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาการตอบสนองของวัคซีน การสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทั้ง 4 ชนิดที่ 6 เดือน โดยเฉพาะต่อสายพันธุ์โอมิครอน

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้า ในประชากรไทยอายุ 18–70 ปี จำนวน 224 คนที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม ในระยะเวลา 6 เดือน
  • ผู้เข้าร่วมถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มโดยสุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วม 50-60 คนโดยการสุ่มตามความสะดวก เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ได้แก่ ซิโนฟาร์ม แอสตร้าเซเนก้า ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา
  • เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิด Ig และ IgG สำหรับการยับยั้งการจับกันระหว่างเชื้อไวรัสและเซลล์มนุษย์ และ IgG ที่ต้านนิวคลีโอแคปซิด (N)
  • วัดค่าภูมิคุ้มกันชนิดลบล้างฤทธิ์ด้วยชุดทดสอบที่จำเพาะต่อสายพันธุ์ปกติ อัลฟา เบตา เดลตา และโอมิครอน
  • การทดสอบการลดลงของปริมาณระดับภูมิคุ้มกัน
  • วัดการตอบสนองของทีเซลล์โดยการทดสอบการปลดปล่อยอินเตอร์เฟียรอน-แกมมา
  • วิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิจัย  : 
  • การตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิด Ig และ IgG สำหรับการยับยั้งการจับกันระหว่างเชื้อไวรัสและเซลล์มนุษย์ และ IgG ที่จำเพาะต่อนิวคลีโอแคปซิด (N) ต่อการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าและโอมิครอน และการตอบสนองของทีเซลล์ พบสูงที่สุดในกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา รองลงมาคือ แอสตร้าเซเนก้า และ ซิโนฟาร์ม ตามลำดับ
  • พบว่าภูมิคุ้มกันชนิด Ig สำหรับการยับยั้งการจับกันระหว่างเชื้อไวรัสและเซลล์มนุษย์มีระดับที่สูงในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนช่วงยาวมากกว่าในกลุ่มช่วงสั้น
ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีนเข็มกระตุ้นทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ซิโนฟาร์ม แอสตร้าเซเนก้า ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา สามารถเพิ่มผลภูมิคุ้มกันชนิดลบล้างฤทธิ์ได้อย่างมีนัยสำคัญสำหรับในบุคคลที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคแล้วจำนวน 2 เข็ม จาการศึกษาปัจจุบันอาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลยุทธ์ของการให้บริการวัคซีนเพื่อยับยังการแพร่ระบากของสายพันธุ์ที่น่ากังวลรวมถึงสายพันธุ์โอมิครอน
  • การตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิด Ig และ IgG สำหรับการยับยั้งการจับกันระหว่างเชื้อไวรัสและเซลล์มนุษย์สูงขึ้นในบุคคลที่ได้รับวัคซีนชนิดพาหะไวรัสและ mRNA
อัพเดทข้อมูล  :  03/02/2565
แหล่งที่มา  :  The Preprint medRxiv
24 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดพาหะไวรัสเป็นเข็มที่ 3 หลังจากได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายครบ 2 เข็มแล้วในผู้ใหญ่สุขภาพดี

Vaccines   :

ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดพาหะไวรัสเป็นเข็มที่ 3 หลังจากได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายครบ 2 เข็มแล้วในผู้ใหญ่สุขภาพดี
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาการเพิ่มขึ้นของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนต่างชนิดกันด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ในบุคลากรทางการแพทย์ชาวไทยที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว

วิธีการวิจัย  : 
  • ตัวอย่างซีรั่มจากบุคลากรทางการแพทย์ 210 คนที่ได้รับซิโนแวคสองเข็ม ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 ได้รับการทดสอบเพื่อหา anti-RBD IgG, anti-N IgG และ anti-S1 IgA
  • ทดสอบระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์น่ากังวล อัลฟา เบตา และเดลตา โดยใช้ ELISA
ผลการวิจัย  : 

กลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มที่ 3 มีระดับ spike RBD-specific IgG, total immunoglobulins, and anti-S1 IgA ที่สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม (p < 0.001) และมีแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ที่น่ากังวล สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเพียง 2 เข็ม

ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3โดยใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแว็คครบ 2 เข็มแล้ว มีความสามาถในการกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี

อัพเดทข้อมูล  :  03/02/2565
21 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดเดิมและวัคซีนต่างชนิดกันในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม การศึกษาในประเทศบราซิล ทดสอบความไม่ด้อยกว่า ระยะที่ 4 แบบปกปิดทางเดียว

Vaccines   :

ซิโนแวค แจนเซ่น แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดเดิมและวัคซีนต่างชนิดกันในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม การศึกษาในประเทศบราซิล ทดสอบความไม่ด้อยกว่า ระยะที่ 4 แบบปกปิดทางเดียว
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , แจนเซ่น , แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อเปรียบเทียบความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นระหว่างวัคซีนที่แตกต่างกันสามชนิด กับวัคซีนชนิดเดียวกันในผู้ใหญ่ซึ่งเคยได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้วสองเข็ม

วิธีการวิจัย  : 
  1. ผู้ใหญ่ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้วสองครั้ง อย่างน้อย 6 เดือน ได้รับการสุ่ม (5:6:5:5) โดยแบ่งชั้นตามสถานที่ กลุ่มอายุ (18–60 ปีหรือ 61 ปีขึ้นไป) และ วันที่ทำการสุ่ม
  2. วัคซีนเข็มกระตุ้นที่แตกต่างกันในการศึกษาสามชนิดประกอบไปด้วยแจนเซ่น, ไฟเซอร์ หรือ แอสตร้าเซเนก้า เปรียบเทียบกับวัคซีนชนิดเดิมคือซิโนแว็ค
  3. ผลลัพธ์หลักคือ ความไม่ด้อยกว่าของระดับแอนติบอดี anti-spike IgG 28 วันหลังจากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นต่างชนิดกัน เทียบกับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดเดียวกัน
  4. ผลลัพธ์รองคือ ระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ในวันที่ 28 การเกิดปฏิกิริยาเฉพาะที่และทั้งระบบ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ รวมถึงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง
ผลการวิจัย  : 
  1. จากข้อมูลพื้นฐานถึงวันที่ 28 หลังได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับแอนติบอดี IgG อย่างมาก โดยมีค่า GMT fold ที่เพิ่มขึ้น ดังนี้
    • 77% (95% CI 67–88) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแจนเซ่น
    • 152% (134– 173) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์
    • 90% (77–104) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
    • 12% (11–14) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแว็ค
  2. อัตราส่วน GMT (heterologous vs homologous) คือ
    • 6.7 (95% CI 5.8–7.7) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแจนเซ่น
    • 13.4 (11.6–15.3) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์
    • 7.0 (6.1–8.1) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
  3. ในวันที่ 28 ทุกกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนชนิดเดิม สามารถกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกัน (seropositivity) ในผู้สูงอายุได้ถึง 100% อัตราส่วน GMT (heterologous vs homologous) คือ
    • 8.7 (95% CI 5.9–12.9) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแจนเซ่น
    • 21.5 (14.5) –31.9) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์
    • 10.6 (7.2–15.6) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
  4. วัคซีนที่ต่างชนิดกันยังสามารถกระตุ้นระดับแอนติบอดีในการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) และโอไมครอน (B.1.1.529)
  5. มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง 5 เหตุการณ์ มีจำนวน 3 รายที่อาจเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ได้รับ หนึ่งรายอยู่ในกลุ่มไฟเซอร์ และอีกสองรายอยู่ในกลุ่มแจนเซ่น ผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจนหายดีและกลับบ้านได้
ข้ออภิปราย  : 
  1. ระดับภูมิคุ้มกันลดลงที่ 6 เดือน หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคครับ 2 เข็ม
  2. วัคซีนทั้ง 4 ชนิด ที่ฉีดเป็นเข็มที่สาม สามารถกระตุ้นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
  3. การกระตุ้นด้วยวัคซีนเข็มสามที่ต่างชนิดกัน เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการกระตุ้นด้วยวัคซีนเข็มสามชนิดเดิม และอาจเพิ่มระดับการป้องกันได้
อัพเดทข้อมูล  :  29/03/2565
แหล่งที่มา  :  The Lancet Journal
20 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตาและโอมิครอนหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคชนิดเดียวกันร่วมกับการกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์

Vaccines   :

ซิโนแวค ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตาและโอมิครอนหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคชนิดเดียวกันร่วมกับการกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลของการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนไฟเซอร์ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม

วิธีการวิจัย  : 
  1. วิเคราะห์ตัวอย่างเลือดของผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 101 คน ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ อย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 27 สิงหาคม 2564
  2. อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วม คือ 40.4 ± 13.4 (ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 78 คน หรือคิดเป็น 70%)
  3. ข้อมูลจากกลุ่มก่อนหน้านี้ที่ได้รับวัคซีน mRNA ครบ 2 เข็ม (Moderna หรือ Pfizer) ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง
  4. วัดระดับความไวในการเกิดปฏิกิริยาของแอนติบอดีในพลาสมาต่อโปรตีน Spike และ receptor binding domain (RBD) ของ SARS-CoV-2 จากข้อมูลพื้นฐาน (baseline), วันที่ 7 และ 28 หลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้น
ผลการวิจัย  : 
  1. การฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม แล้วตามด้วยไฟเซอร์ 1 เข็ม สามารถกระตุ้นระดับแอนติบอดีจำเพาะต่อไวรัสให้สูงขึ้น และมีแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์เดลตา คล้ายคลึงกับกลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA ครบ 2 เข็ม
  2. ไม่พบระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์โอมิครอน ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม
  3. การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ส่งผลให้ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA 2 เข็ม
  4. ระดับไตเตอร์ของแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ ลดลง 7.1 เท่า และ 3.6 เท่าสำหรับไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์เดลตาตามลำดับ
ข้ออภิปราย  : 

การค้นพบนี้มีความสำคัญต่อหลายประเทศที่เคยใช้วัคซีนซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม และตอกย้ำความสำคัญของการพิจารณาใช้วัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดที่แตกต่างกันทั่วโลก ซึ่งเป็นแนวทางในอนาคตที่สำคัญต่อการรับมือกับสายพันธุ์ของไวรัสที่เกิดขึ้นในประเทศที่ใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายเป็นวัคซีนหลัก

อัพเดทข้อมูล  :  24/03/2565
แหล่งที่มา  :  Nature Medicine
20 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอนหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคและไฟเซอร์ แบบชนิดเดียวกันและแบบไขว้

Vaccines   :

ซิโนแวค ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอนหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคและไฟเซอร์ แบบชนิดเดียวกันและแบบไขว้
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 และ PRNT90 ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอน

วิธีการวิจัย  : 
  1. ทำการตรวจภูมิคุ้มกันจากเลือดของ
    1. ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วและไม่เคยมีประวัติของโรค COVID-19
      • ที่เวลา 3-5 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มหรือได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม (ทำการสุ่มมาจากการศึกษาก่อนหน้า)
      • ที่เวลา 3-5 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวค 3 เข็ม หรือได้รับวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-ซิโนแวค-ไฟเซอร์ (ทำการสุ่มมาจากการศึกษาก่อนหน้า)
      • หลังจากได้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 3
    2. ผู้ที่เคยมีประวัติของโรค COVID-19
      • ผู้ที่หายจากโรค COVID-19 (ก่อนการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน) และยังไม่ได้รับวัคซีน
      • ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม
      • ได้รับวัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม
  2. จากการศึกษาก่อนหน้านี้ ผู้วิจัยกำหนดค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 เทียบเท่ากับประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้ 50%
ผลการวิจัย  : 
  1. ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วและไม่เคยมีประวัติของโรค COVID-19
    1. ที่เวลา 3-5 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม: 218.8
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน: 7.0 (ลดลง 31.3 เท่า)
      • จำนวนผู้ที่มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 ต่อโอมิครอน: 2/31 ราย
    2. ที่เวลา 3-5 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม
      1. ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม: 32.5
      2. ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน: 5.0 (ลดลง 6.5 เท่า)
      3. จำนวนผู้ที่มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 ต่อโอมิครอน: 0/30 ราย
    3. ที่เวลา 3-5 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวค 3 เข็ม
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม: 65
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน: 8.9 (ลดลง 7.3 เท่า)
      • จำนวนผู้ที่มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 ต่อโอมิครอน: 1/30 ราย
    4. ที่เวลา 3-5 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-ซิโนแวค-ไฟเซอร์
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม: 305.5
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน: 59.2 (ลดลง 5.2 เท่า)
      • จำนวนผู้ที่มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 ต่อโอมิครอน: 24/30 ราย
    5. หลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 3 เข็ม
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม: 320
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน: 77.8 (ลดลง 4.1 เท่า)
      • จำนวนผู้ที่มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 ต่อโอมิครอน: 22/25 ราย
  2. ผู้ที่เคยมีประวัติของโรค COVID-19
    1. ผู้ที่หายจากโรค COVID-19 (ก่อนการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน) และยังไม่ได้รับวัคซีน
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม: 85.7
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน: 8.1 (ลดลง 10.6 เท่า)
      • จำนวนผู้ที่มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 ต่อโอมิครอน: 1/30 ราย
    2. และได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม: 320
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน: 130 (ลดลง 2.5 เท่า)
      • จำนวนผู้ที่มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 ต่อโอมิครอน: 29/30 ราย
    3. และได้รับวัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม: 237.8
      • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน: 29.7 (ลดลง 8 เท่า)
      • จำนวนผู้ที่มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน PRNT50 ≥ 25.6 ต่อโอมิครอน: 18/28 ราย
ข้ออภิปราย  : 
  1. ข้อจำกัดของการศึกษา
    • มีผู้เข้าร่วมการศึกษาในแต่ละกลุ่มน้อย
    • ไม่ได้มีการศึกษาการทำงานของแอนติบอดีในด้านอื่นๆ รวมถึงการตอบสนองของ T-cell
  2. ข้อสรุป
    • แอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ของวัคซีนไฟเซอร์หรือซิโนแวคสองเข็มมีระดับต่ำต่อสายพันธุ์โอมิครอน
    • การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแบบยี่ห้อเดียวกันหรือแบบไขว้ด้วยวัคซีนไฟเซอร์หลังจากได้รับวัคซีนครบสองเข็ม (ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนไฟเซอร์หรือซิโนแวค) ทำให้ระดับของแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มสูงขึ้น
    • ในผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่ การฉีดวัคซีนซิโนแวคสามเข็มไม่สามารถกระตุ้นแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์โอมิครอนได้ดี
    • ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนซิโนแวคอาจมีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนชนิด mRNA เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นเมื่อมีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน
อัพเดทข้อมูล  :  24/03/2565
แหล่งที่มา  :  Nature Medicine
18 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การเป็นโรคโควิด 19 หลังจากการได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายสามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันในระดับสูงและข้ามสายพันธุ์ (ยกเว้นสายพันธุ์โอมิครอนที่จะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันน้อย)

Vaccines   :

ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
หัวข้อวิจัย  :  การเป็นโรคโควิด 19 หลังจากการได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายสามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันในระดับสูงและข้ามสายพันธุ์ (ยกเว้นสายพันธุ์โอมิครอนที่จะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันน้อย)
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
จุดประสงค์  : 

ทำการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันและการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันในเชื้อข้ามสายพันธุ์ โดยเปรียบระหว่างกลุ่มที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคจำนวน 2 เข็ม เทียบกับ กลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคจำนวน 2 เข็มและไม่ติดเชื้อ เทียบกับกลุ่มที่ได้วัคซีนซิโนแวคเป็นวัคซีนสองเข็มแรกและได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่สาม

วิธีการวิจัย  : 
  1. ทำการตรวจภูมิคุ้มกันจากเลือดของ
    • ผู้ป่วยที่มีประวัติได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มและมีการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ตามมาในภายหลัง (สายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศไทยช่วงที่ทำการศึกษาคือสายพันธุ์อัลฟาและเบตา)
    • ผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มและไม่เคยติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เป็นกลุ่มควบคุม)
    • ผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มและได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนเข็มที่สาม
  2. เลือดของอาสาสมัครได้รับการตรวจ
    • การตอบสนองของแอนติบอดีที่จับกับเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างจำเพาะ
    • ความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์กลายพันธุ์ได้แก่ อัลฟา เบตาและเดลตา
    • ระดับของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน
ผลการวิจัย  : 
  1. ระดับของแอนติบอดีรวมที่จำเพาะต่อตัวรับบนผิวเซลล์ของเชื้อสูงขึ้นในกลุ่มที่มีการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็ม (18154 units per millilitre (U/mL); 95% CI 13506–24402 U/mL) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มแต่ไม่ติดเชื้อ (98 U/mL; 95% CI 83–116 U/mL) รวมทั้งยังสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มและได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่สาม (7947 U/mL; 95% CI 7277–8679)
  2. ความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ในกลุ่มที่มีการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็ม
    • สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มแต่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญในทุกสายพันธุ์ (สายพันธุ์ดั้งเดิม อัลฟา เบตาและเดลตา) (p < 0.001)
    • สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มและได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่สามอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะกับเชื้อสายพันธุ์อัลฟา (p = 0.02) และเบตา (p < 0.01)
  3. ระดับของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ในเลือดของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มมีค่าเฉลี่ย
    • ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 1332 (95% CI 875–106 2026)
    • มีค่าเฉลี่ยภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอน 212 (95% CI 142–316) (ลดลงจากสายพันธุ์เดลตา 6.3 เท่า) (p < 0.001)
ข้ออภิปราย  : 

สรุป

  1. กลุ่มที่มีการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มมีการตอบสนองของแอนติบอดีได้ดี สูงกว่ากลุ่มที่รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มและได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่สาม
  2. การติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีนเพิ่มความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ข้ามสายพันธุ์ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม อัลฟา เบตา และเดลตา
  3. เลือดจากกลุ่มที่มีการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็ม มีความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนต่ำกว่าสายพันธุ์เดลตา

ข้อจำกัด

  1. กลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก
  2. ไม่มีการตรวจหาสายพันธุ์เชื้อ SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีน
  3. ไม่ได้มีการตรวจการลบล้างฤทธ์ต่อเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มแต่ไม่ติดเชื้อและกลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มและได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่สาม
อัพเดทข้อมูล  :  17/02/2565
แหล่งที่มา  :  The Preprint MedRxiv
18 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนไฟเซอร์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ในซีรั่มของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนไฟเซอร์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ในซีรั่มของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลวัคซีนไฟเซอร์ในการลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน

วิธีการวิจัย  : 
  • ศึกษาภูมิคุ้มกันจากวัคซีนไฟเซอร์ในผู้เข้าร่วมการศึกษาอายุ 20-72 ปี
    จากการศึกษาต่างๆ โดย

    • เจาะเลือดที่ 21 วันหลังได้วัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม (32 ราย)
    • เจาะเลือดที่ 1 เดือนหลังจากได้วัคซีนไฟเซอร์ 3 เข็ม (30 ราย)
  • ทดสอบการลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสที่ไม่ก่อโรคและไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต
ผลการวิจัย  : 

รูปที่ 1 ค่าภูมิคุ้มกันที่ 21 วันหลังรับวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2 และ 1 เดือนหลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบ 3 เข็มต่อโอมิครอน เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม จากการทดสอบการลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต

รูปที่ 2 ค่าภูมิคุ้มกันที่ 21 วันหลังรับวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2 และ 1 เดือนหลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบ 3 เข็มต่อโอมิครอน เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธ์ุน่ากังวล จากการทดสอบการลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสที่ไม่ก่อโรค

  • ทดสอบการลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต
    • ค่าภูมิคุ้มกันที่ 21 วันหลังรับวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2 ต่อโอมิครอนมีค่าต่ำกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม (6 เทียบกับ 368)
    • ค่าภูมิคุ้มกันที่ 1 เดือนหลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบ 3 เข็ม ต่อโอมิครอนมีค่ามากกว่าหลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม  (106 เทียบกับ 6)  แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม (106 เทียบกับ 368)
  • ทดสอบการลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสที่ไม่ก่อโรค 
    • ค่าภูมิคุ้มกันที่ 21 วันหลังจากรับวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2 ต่อโอมิครอน ค่าภูมิคุ้มกันที่ 1 เดือนหลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบ 3 เข็ม ต่อโอมิครอน มีแนวโน้มเหมือนการทดสอบการลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต

*ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน คือ ระดับไตเตอร์ที่ลบล้างไวรัสที่มีชีวิตและที่ไม่ก่อโรคได้ 50%

ข้ออภิปราย  : 

วัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มอาจไม่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อ SAR-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน

อัพเดทข้อมูล  :  17/02/2565
แหล่งที่มา  :  วารสารการแพทย์ Science
6 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การประเมินผลใช้วัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การประเมินผลใช้วัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาความปลอดภัย การสร้างภูมิคุ้มกัน และประสิทธิศักย์ของวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ที่ฉีดห่างกัน 21 วันในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาระยะที่ 1 หาขนาดวัคซีน

    • เด็กอายุ 5 ถึง 11 ปีจำนวน 48 คนได้รับวัคซีน BNT162b2 ขนาด 10 ไมโครกรัม 20 ไมโครกรัม หรือ 30 ไมโครกรัม (เด็ก 16 คนในแต่ละระดับขนาดวัคซีน)
    • เมื่อพิจารณาผลการศึกษาบนพื้นฐานของการเกิดปฏิกิริยาและการสร้างภูมิคุ้มกัน ระดับขนาดวัคซีน 10 ไมโครกรัมถูกเลือกสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
  • การศึกษาระยะที่ 2–3

    • เด็กทั้งหมด 2,268 คน ได้รับการสุ่มเลือกในอัตราส่วน 2:1 เพื่อรับวัคซีน BNT162b2 จำนวนสองเข็ม ที่ระดับขนาด 10 ไมโครกรัม หรือวัคซีนหลอก
    • คำนวณอัตราส่วนของ GMTs และความแตกต่างระหว่างร้อยละของผู้เข้าร่วมที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในกลุ่มอายุ 5 ถึง 11 ปี กับกลุ่มอายุ 16 ถึง 25 ปีที่ 1 เดือนหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง
    • ประเมินประสิทธิศักย์ของวัคซีนในการป้องกัน Covid-19 ที่ 7 วันขึ้นไป หลังจากได้รับวัคซีนครบสองเข็ม
ผลการวิจัย  : 
  • ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
  • หนึ่งเดือนหลังการฉีดเข็มที่สอง อัตราส่วน GMT ของแอนติบอดีในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี ต่อกลุ่มอายุ 16 ถึง 25 ปี คือ 1.04 (95% CI, 0.93-1.18) ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สัมพันธ์กันและถึงเกณฑ์ความสำเร็จของการสร้างภูมิคุ้มกันที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
  • มีรายงานการติดเชื้อโควิด-19 โดยเริ่มมีอาการตั้งแต่ 7 วันขึ้นไปหลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 จำนวน 3 ราย และในผู้รับวัคซีนหลอก 16 ราย
  • ประสิทธิศักย์ของวัคซีนคือ 90.7% (95% CI, 67.7 ถึง 98.3)
ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีนไฟเซอร์สำหรับป้องกันโควิด-19 ขนาด 10 ไมโครกรัม 2 ครั้ง ห่างกัน 21 วัน พบว่ามีความปลอดภัย สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน และมีประสิทธิศักย์ในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี

หมายเหตุ:

ยังไม่มีการประเมินการให้วัคซีนไฟเซอร์ร่วมกับวัคซีนอื่นๆ และยังไม่มีข้อมูลการตอบสนองภูมิคุ้มกันชนิดอาศัยเซลล์ ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม

อัพเดทข้อมูล  :  31/01/2565
แหล่งที่มา  :  The New England Journal of Medicine, U.S. FDA
5 มกราคม 2565

หัวข้อวิจัย   :

การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนชนิดเชื้อตายและชนิดใช้พาหะในผู้เคยติดเชื้อ SARS-CoV-2

Vaccines   :

ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
หัวข้อวิจัย  :  การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนชนิดเชื้อตายและชนิดใช้พาหะในผู้เคยติดเชื้อ SARS-CoV-2
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน ของวัคซีนชนิดเชื้อตาย (ซิโนแวค) และชนิดใช้พาหะ (แอสตร้าเซนเนก้า) ในผู้เคยติดเชื้อ SARS-CoV-2

วิธีการวิจัย  : 

ผู้เข้าร่วมการศึกษา

  • ทำการแบ่งผู้เข้าร่วมการศึกษาที่เคยติดเชื้อ SARS-CoV-2 ออกเป็นสองกลุ่มตามชนิดของวัคซีนและระยะเวลาจากที่ตรวจพบเชื้อจนถึงเวลาที่ได้รับวัคซีน (ระยะห่างน้อย (2-5 เดือน) และระยะห่างมาก (13-15 เดือน))
    ผลที่ต้องการศึกษา
  • การตอบสนองต่อวัคซีน โดยวิเคราะห์จากการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนภายในเวลา 7 วัน
  • เปรียบเทียบแอนติบอดีที่จับกับเชื้อระหว่างผู้เข้าร่วมการศึกษาที่มีระยะห่างของการฉีดวัคซีนน้อยและระยะห่างมาก รวมทั้งเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อ
  • ใช้การตรวจการลบล้างฤทธิ์ของไวรัสในการประเมินการทำงานของแอนติบอดี
  • ตรวจการตอบสนอง Total interferon-gamma หลังจากได้รับวัคซีน
ผลการวิจัย  : 
  • การตอบสนองต่อวัคซีน

    • เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แบบเฉพาะที่และในระบบอื่นๆ พบบ่อยในวัคซีนเข็มแรกเมื่อเทียบกับวัคซีนเข็มที่สอง
    • เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลางและพบบ่อยในวันที่ 2-3 หลังจากฉีดวัคซีน
    • ผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีการเปอร์เซ็นต์การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากกว่าซิโนแวค
  • แอนติบอดีที่จับกับเชื้อ

    • ระดับ anti-RBD IgG เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและมีระดับสูงสุดที่วันที่ 14 หลังจากฉีดวัคซ๊นเข็มแรกเทียบกับก่อนฉีดวัคซีน
    •  ในกลุ่มฉีดวัคซีนระยะห่างมากมีการตอบสนองของแอนติบอดีมากกว่าในกลุ่มฉีดวัคซีนระยะห่างน้อย
    •  ในกลุ่มที่เคยติดเชื้อและฉีดวัคซีน 1 เข็มมีระดับของ anti-RBD IgG สูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยติดเชื้อและฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม
  • ความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์กลายพันธุ์

    • ผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนมีการตอบสนองที่สูงหลังจากฉีดวัคซีน 1 เข็ม และมีระดับของความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ที่สูงกว่าผู้ที่ไม่เคยติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ
    •  ในผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนและได้ฉีดวัคซีนซิโนแวค มีเปอร์เซ็นต์ผู้มีความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่ำกว่าผู้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าอย่างมีนัยสำคัญ
    •  ความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ในกลุ่มฉีดวัคซีนระยะห่างมากพบมากกว่าในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนระยะห่างน้อย
    • ผู้เข้าร่วมการศึกษาที่เคยติดเชื้อทุกรายสามารถตรวจพบความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์ดั้งเดิมได้
    •  93.1% ในกลุ่มฉีดวัคซีนระยะห่างน้อยและ 96.3% ในกลุ่มฉีดวัคซีนระยะห่างมาก มีความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์อัลฟาหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม ในผู้ที่ได้วัคซีนเอสตร้าเซนเนก้าทุกรายมีความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์อัลฟาสูง
    •  ความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์บีตาลดลง
    •  มากกว่า 96% ของผู้ที่เคยติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค 1 เข็มมีการเพิ่มขึ้นของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์เดลตาอย่างมาก และ 100% ของผู้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าตรวจพบแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์เดลตา
    •  หลังจากฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มพบว่าความสามารถในการลบล้างฤทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มไม่พบการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการลบล้างฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญ (ยกเว้นต่อสายพันธุ์อัลฟา)
  • การตอบสนองโดย Total interferon-gamma

    •  การตอบสนองโดย Subtracted interferon-gamma เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 14 วันหลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรกเทียบกับก่อนฉีดวัคซีน
    •  พบจำนวนผู้ตรวจพบการตอบสนองดังกล่าวในกลุ่มที่ได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามากกว่ากลุ่มที่ได้วัคซีนซิโนแวค
    •  กลุ่มที่ได้วัคซีนซิโนแวคมีการตอบสนองของของ interferon-gamma สำหรับ Ag2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากได้วัคซีน 2 เข็ม ในทางตรงกันข้าม ระดับการตอบสนองของ interferon-gamma ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม

ข้ออภิปราย  : 

สรุป

  • พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากวัคซีนไม่ต่างกันระหว่างกลุ่มที่เคยติดเชื้อและไม่เคยติดเชื้อ
  •  การฉีดวัคซีนในผู้ที่เคยติดเชื้อ SARS-CoV-2 มาก่อน ไม่ว่าจะด้วยวัคซีนเชื้อตายหรือวัคซีนชนิดใช้พาหะส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่สูงมากเมื่อเทียบกับการฉีดวัคซีน 2 เข็มในผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อ
  • การได้รับวัคซีนชนิดใช้พาหะ 1 เข็ม หรือวัตซีนชนิดเชื้อตาย 2 เข็มสามารถฟื้นความจำของภูมิคุ้มกันทั้งชนิดแอนติบอดีและ T เซลล์ในผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนได้
  •  ในวัคซีนทั้งสองชนิด การฉีดวัคซีนด้วยระยะห่างจากการติดเชื้อที่มากจะทำใ้ห้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าด้วยระยะห่างน้อย
อัพเดทข้อมูล  :  17/02/2565
แหล่งที่มา  :  medRXiv
29 ธันวาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 3 กับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์โอมิครอน

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 3 กับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์โอมิครอน
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อเปรียบเทียบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์โอมิครอนจากซีรัมของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม เทียบกับ 3 เข็ม

วิธีการวิจัย  : 
  • เปรียบเทียบแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อ ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิม B.1.351 (เบตา) B.1.617.2 (เดลตา) และโอมิครอนจากซีรัมของกลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางการแพทย์ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน
  • กลุ่มแรกเป็นกลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม (โดยเฉลี่ยที่ 165 วันหลังได้รับวัคซีนครบ) เทียบกับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 3 เข็ม (โดยเฉลี่ยที่ 25 วันหลังได้รับวัคซีนครบ)
ผลการวิจัย  : 
  • ซีรัมของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีน 3 เข็มมีแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์ที่น่ากังวลทั้งสามชนิด ได้ดีกว่าซีรัมของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม
  • การฉีดวัคซีนสามเข็มสามารถกระตุ้มให้เกิดแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อโอมิครอนได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนสองเข็ม (GMT 1.11 หลังได้รับวัคซีนสองเข็ม เทียบกับ107.6 หลังได้รับวัคซีนสามเข็ม)
ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 3 มีความสำคัญเนื่องจากสามารถกระตุ้นแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม อย่างไรก็ตาม แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ที่ผลิตได้มีค่าน้อยกว่าต่อสายพันธุ์เดลตา

หมายเหตุ:

1. กลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก
2. จำเป็นต้องมีการศึกษาความอยู่ทนของระดับภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 3 ต่อไป

อัพเดทข้อมูล  :  01/02/2565
แหล่งที่มา  :  The New England Journal of Medicine
20 ธันวาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทโนวาแวกซ์ – (วัคซีนที่ผลิตจากการตัดต่อรวมโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19) - NUVAXOVID™

Vaccines   :

โนวาแวกซ์
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทโนวาแวกซ์ – (วัคซีนที่ผลิตจากการตัดต่อรวมโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19) - NUVAXOVID™
ชนิดวัคซีน  :  โนวาแวกซ์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

3 – 4 สัปดาห์

ข้อห้าม

ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิไวเกินต่อสารหรือส่วนประกอบของวัคซีนชนิดนี้

ข้อควรระวัง

1. ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งก่อนๆ
2. ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง
3. ห้ามฉีดในผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
4. ห้ามฉีดในสตรีที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์

อัพเดทข้อมูล  :  01/02/2565
17 ธันวาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของสถาบันซีรั่มแห่งอินเดีย – (วัคซีนที่ผลิตจากการตัดต่อรวมโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19) - COVOVAX™

Vaccines   :

โคโวแวคซ์
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของสถาบันซีรั่มแห่งอินเดีย – (วัคซีนที่ผลิตจากการตัดต่อรวมโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19) - COVOVAX™
ชนิดวัคซีน  :  โคโวแวคซ์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

21 วัน

ข้อห้าม

ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิไวเกินต่อสารหรือส่วนประกอบของวัคซีนชนิดนี้

ข้อควรระวัง

1. ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งก่อนๆ
2. ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง
3. ห้ามฉีดในผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
4. ห้ามฉีดในสตรีที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์

อัพเดทข้อมูล  :  01/02/2565
9 ธันวาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอนมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นจากวัคซีนไฟเซอร์ได้มากแต่ไม่สมบูรณ์ และไวรัสจำเป็นต้องใช้ ACE2 ในการติดเชื้อ

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอนมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นจากวัคซีนไฟเซอร์ได้มากแต่ไม่สมบูรณ์ และไวรัสจำเป็นต้องใช้ ACE2 ในการติดเชื้อ
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 
  1. ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนมีความสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์) ที่สร้างขึ้นจากวัคซีนไฟเซอร์ได้หรือไม่
  2. ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนยังมีความจำเป็นต้องใช้ ACE2 receptor ในการติดเชื้ออยู่หรือไม่
วิธีการวิจัย  : 
  1. ใช้ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่มีชีวิตจากแอฟริกาใต้
  2. ใช้เซลล์ปอดมนุษย์ที่ผ่านการตัดแต่งให้มี ACE2 receptor (H1299-ACE2) ในการเพาะแยกไวรัสและทดสอบภูมิคุ้มกัน
  3. ใช้เซลล์ปอดมนุษย์ตั้งต้น (H1299) ที่ไม่มี ACE2 ในการทดสอบการโตของไวรัส
  4. ทดสอบความสามารถของพลาสมาของอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ในการต่อต้านไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมในแอฟริกา (D614G) โดยวิธีทดสอบแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์แบบเชื้อเป็น
ผลการวิจัย  : 
  1. ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนสามารถติดในเซลล์ที่มี ACE2 แต่ไม่สามารถติดในเซลล์ปอดมนุษย์ตั้งต้น (H1299) ได้ แสดงให้เห็นว่า ACE2 ยังมีความจำเป็นต่อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนในการเข้าสู่เซลล์
  2. ในการทดสอบความสามารถของพลาสมาของอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ในการต่อต้านไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน มีผลการทดสอบ ดังนี้
    • ใช้การทดสอบด้วยพลาสมา 14 ตัวอย่างจากอาสาสมัคร 12 ราย
    • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ D614G เท่ากับ 1321
    • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอนเท่ากับ 32 (ลดลง 41 เท่า) อย่างไรก็ดีในพลาสมาของอาสาสมัคร 5 ราย(ทั้งหมดเคยติดเชื้อมาก่อน) มีระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอนในระดับสูง
ข้ออภิปราย  : 

ในผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนและได้รับวัคซีนมีแนวโน้มที่จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่มากขึ้นและน่าจะป้องกันการเกิดโรครุนแรงจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้

อัพเดทข้อมูล  :  25/03/2565
แหล่งที่มา  :  The medRxiv
9 ธันวาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เข็มกระตุ้น

Vaccines   :

แจนเซ่น โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เข็มกระตุ้น
ชนิดวัคซีน  :  แจนเซ่น , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ทุกคนที่อายุ 16 ปีขึ้นไปสามารถรับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้

  • หากคุณได้รับไฟเซอร์ 2 เข็มแล้ว
    • วัยรุ่นอายุ 16-17 ปี สามารถรับเข็มกระตุ้น (ไฟเซอร์)
    • ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนกระตุ้น (วัคซีนป้องกันโควิด19 ชนิดใดก็ได้ที่ได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา)
    • ควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเมื่อใด: อย่างน้อย 6 เดือนหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มที่ 2 ของคุณ
  • หากคุณได้รับโมเดอร์นา 2 เข็มแล้ว
    • ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนกระตุ้น (วัคซีนป้องกันโควิด19 ชนิดใดก็ได้ที่ได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา)
    • ควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเมื่อใด: อย่างน้อย 6 เดือนหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มที่ 2 ของคุณ
  • หากคุณได้รับแจนเซ่น 1 เข็มแล้ว
    • ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนกระตุ้น (วัคซีนป้องกันโควิด19 ชนิดใดก็ได้ที่ได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา)
    • ควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเมื่อใด: อย่างน้อย 2 เดือนหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มแรก ของคุณ
อัพเดทข้อมูล  :  20/12/2564
แหล่งที่มา  :  CDC (Centers for Disease Control and Prevention)
8 ธันวาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ภูมิต้านทานที่ลดลงต่อสายพันธุ์ไวรัสโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยวัคซีนเซรั่มและโมโนโคลนอลแอนติบอดี

Vaccines   :

ไม่มีข้อมูล
หัวข้อวิจัย  :  ภูมิต้านทานที่ลดลงต่อสายพันธุ์ไวรัสโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยวัคซีนเซรั่มและโมโนโคลนอลแอนติบอดี
ชนิดวัคซีน  : 
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลความสามารถในการป้องกันโดยวัดระดับภูมิต้านทานแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์โควิดโอมิครอน

วิธีการวิจัย  : 
  • เก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ที่ได้รับวัคซีนก่อนและหลังฉีดครบ 2 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน จากวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม หรือ 3 เข็ม, โมเดอร์นา 2 เข็ม หรือกระตุ้นด้วยไฟเซอร์อีก 1 เข็ม, ฉีดไขว้ระหว่างแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ 1 เข็มหรือ 2 เข็ม
  • วัดระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อตัวอย่างของสายพันธุ์โอมิครอนได้มาจากการเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกของผู้ที่กลับมาจากประเทศซิมบับเวในทวีปแอฟริกาใต้ (ได้รับวัคซีนโมเดอร์นามาแล้ว 2 เข็ม)เพื่อประเมินผลความสามารถในการป้องกันโดยวัดระดับภูมิต้านทานแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์โควิดโอมิครอน
ผลการวิจัย  : 
  • ภูมิจากไฟเซอร์ 2 เข็มสามารถจับและป้องกันเดลต้าได้ 47% และภูมิต่อโอมิครอนเป็น 0%
  • เมื่อฉีดไฟเซอร์ 3 เข็ม ภูมิเมื่อเก็บหลังเข็มสามครึ่งเดือนยับยั้งเดลต้าได้ 100% และยับยั้งโอมิครอนได้ 58% แต่ถ้าเก็บหลังเข็มสาม 3 เดือน ยับยั้งเดลต้าได้ 95% แต่ภูมิตกจนยับยั้งโอมิครอนได้เพียง 25%
  • ภูมิผู้ที่เคยติดเชื้อและได้ไฟเซอร์ 2 เข็มยับยั้งเดลต้าได้ 85% และโอมิครอน 25% (ไม่ระบุเก็บเลือดกี่เดือนหลังฉีด)
  • ภูมิจากคนที่ฉีดโมเดอร์นา 2 เข็มมา 6 เดือน เหลือยับยั้งเดลต้าได้ 50% และภูมิต่อโอมิครอนเป็น 0% แต่ถ้ากระตุ้นเข็มสามด้วยไฟเซอร์ ภูมิที่เก็บ 2 สัปดาห์หลังกระตุ้นสามารถยับยั้งเดลต้าได้ 100% และต่อโอมิครอน 78%
  • การฉีดไขว้แอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ หลังจากฉีด 6 เดือน ภูมิยับยั้งเดลต้าได้ 21% และภูมิต่อโอมิครอนเป็น 0% ถ้ากลุ่มนี้ได้เข็มกระตุ้นด้วยไฟเซอร์ ภูมิที่เก็บ 2 อาทิตย์ยับยั้งเดลต้าได้ 88% และยับยั้งโอมิครอนได้ 38%
ข้ออภิปราย  : 

อัพเดทข้อมูล  :  31/03/2565
แหล่งที่มา  :  ไม่มีข้อมูล
3 ธันวาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ผลการศึกษาความสามารถการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ต่ำของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับวัคซีนไวรัส SARS-CoV-2 ชนิดเชื้อตาย

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  ผลการศึกษาความสามารถการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ต่ำของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับวัคซีนไวรัส SARS-CoV-2 ชนิดเชื้อตาย
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีและภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับวัคซีนไวรัส SARS-CoV-2 ชนิดเชื้อตาย เทียบกับกลุ่มควบคุมที่สุขภาพแข็งแรง

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าระหว่าง เมษายน ถึง กรกฎาคม 2564 ในประเทศไทย โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่อายุตั้งแต่ 18- 59 ปี (31 คนเป็นผู้ป่วยฟอกไต 29 คนเป็นผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง) เทียบกับกลุ่มควบคุมสุขภาพดี 30 คน
  • ตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี RBD IgG แอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ไวรัส SARS-CoV-2 และภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ ที่ 2 สัปดาห์ภายหลังการฉีดวัคซีน SARS-CoV-2 ชนิดเชื้อตาย 2 เข็ม
ผลการวิจัย  : 
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังตรวจพบภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี RBD IgG และแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ไวรัส SARS-CoV-2 ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่สุขภาพแข็งแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

    • ผู้ป่วย 53 จาก 60 คน มีระดับ Anti-RBD IgG อย่างน้อย 50 AU/ml คิดเป็น 88% ของจำนวนคน เทียบกับ 100% ในกลุ่มสุขภาพดี
    • จำนวน 58% ในกลุ่มผู้ป่วย มีระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์อย่างน้อย 35% เทียบกับจำนวนคน 88% ในกลุ่มสุขภาพดี
  • สำหรับภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ที่จำเพาะต่อกลุ่มเปปไทด์ S1 นั้นพบได้ในระดับใกล้เคียงกับควบคุมที่สุขภาพแข็งแรง
ข้ออภิปราย  : 

การสร้างแอนติบอดีและระดับแอนติบอดีของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ 2 สัปดาห์ภายหลังการฉีดวัคซีน SARS-CoV-2 ชนิดเชื้อตาย 2 เข็มอาจอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

 

หมายเหตุ:

ขนาดกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก

อัพเดทข้อมูล  :  07/02/2565
แหล่งที่มา  :  วารสาร Science Direct
2 ธันวาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 7 ชนิดในโดสที่สาม (บูสเตอร์) หลังจากฉีด แอสตร้าเซเนก้า หรือไฟเซอร์ครบสองเข็มในสหราชอาณาจักร (COV-BOOST): การศึกษาเชิงทดลองแบบปกปิด ระยะที่ 2

Vaccines   :

ซิโนแวค แจนเซ่น แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 7 ชนิดในโดสที่สาม (บูสเตอร์) หลังจากฉีด แอสตร้าเซเนก้า หรือไฟเซอร์ครบสองเข็มในสหราชอาณาจักร (COV-BOOST): การศึกษาเชิงทดลองแบบปกปิด ระยะที่ 2
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , แจนเซ่น , แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาการเกิดปฏิกิริยาและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่แตกต่างกัน 7 ชนิด โดยให้เป็นวัคซีนเข็ม 3 ขนาดเต็มโดสและครึ่งโดส ต่อจากแอสตร้าเซนเนก้า/แอสตร้าเซนเนก้า หรือ ไฟเซอร์/ไฟเซอร์

วิธีการวิจัย  : 
  1. ผู้เข้าร่วมมีอายุมากกว่า 30 ปี และได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าครบสองเข็มแล้วอย่างน้อย 70 วัน หรือได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบสองเข็มมาแล้วอย่างน้อย 84 วัน
  2. สุ่มผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มทดลองวัคซีนหรือกลุ่มควบคุม เป็น 3 กลุ่ม (A B C) เพื่อรับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ต่างกันทั้ง 7 ชนิด
  3. ผู้เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ไม่ทราบการแบ่งกลุ่ม
  4. ผลลัพธ์หลักคือความปลอดภัย การเกิดปฏิกิริยาและการสร้างภูมิคุ้มกันของ anti-spike IgG วัดโดย ELISA
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลการสร้างภูมิคุ้มกัน ความปลอดภัยและการเกิดปฏิกิริยานั้นอยู่บนพื้นฐานของหลักการ intention-to-treat
  6. ผลลัพธ์รอง ได้แก่ การประเมินแอนติบอดี้ลบล้างฤทธิ์และการตอบสนองของเซลล์
ผลการวิจัย  : 
  1. วัคซีนจำนวนสามชนิดที่แสดงให้เห็นการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นโดยรวม คือ 1.1 วัคซีนโมเดอร์นา หลังจากได้รับ แอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ ครบสองเข็ม 1.2 แอสตร้าเซนเนก้า หลังจากได้รับไฟเซอร์ครบสองเข็ม 1.3 แจนเซ่น หลังจากได้รับไฟเซอร์ครบสองเข็ม
  2. สำหรับกลุ่มที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามาแล้วสองเข็ม 2.1 ระดับภูมิคุ้มกันเฉลี่ย (GMR) ของ Spike IgG ระหว่างวัคซีนในการศึกษาและกลุ่มควบคุมอยู่ในช่วง 1.8 (99% CI 1.5–2.3) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนวัลเนวาขนาดครึ่งโดส ถึง 32.3 (24.8–42.0) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโมเดอร์นา 2.2 การตอบสนองของเซลล์ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อยู่ในช่วงตั้งแต่ 1.1 (95% CI 0.7–1.6) สำหรับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ถึง 3.6 (2.4–5.5) สำหรับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโมเดอร์นา
  3. สำหรับกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์มาแล้วสองเข็ม 3.1 ระดับภูมิคุ้มกันเฉลี่ย (GMR) ของ Spike IgG อยู่ในช่วง 1.3 (99% CI 1.0–1.5) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนวัลเนวาขนาดครึ่งโดส ถึง 11.5 (9.4–14.1) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโมเดอร์นา
ข้ออภิปราย  : 

การศึกษานี้แสดงให้เห็นศักยภาพของวัคซีนทั้งหมดที่ทดสอบ (แอสตร้าเซนเนก้า, ไฟเซอร์, โมเดอร์นา, โนวาแวกซ์, แจนเซ่น, เคียวแว็ค และวัลเนวา) สามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าครบสองเข็ม และวัคซีน 6 ชนิด (แอสตร้าเซนเนก้า, ไฟเซอร์, โมเดอร์นา, โนวาแวกซ์, แจนเซ่น, และวัลเนวา) หลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบสองเข็ม วัคซีนทั้งหมดมีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ แม้ว่าแผนการฉีดบางรูปแบบจะมีปฏิกิริยาตอบสนองมากกว่าแบบอื่นๆ

อัพเดทข้อมูล  :  29/03/2565
แหล่งที่มา  :  The Lancet Journal
30 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของการฉีดกระตุ้นวัคซีนโควิด19 หลังได้รับวัคซีนซิโนแวคหรือแอสตร้าเซนเนก้า

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของการฉีดกระตุ้นวัคซีนโควิด19 หลังได้รับวัคซีนซิโนแวคหรือแอสตร้าเซนเนก้า
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม , ซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

การศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของการฉีดกระตุ้นวัคซีนโควิด19 ชนิดซิโนฟาร์ม แอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์เต็มโดส (30 ไมโครกรัม) และไฟเซอร์ครึ่งโดส (15 ไมโครกรัม) หลังได้รับวัคซีนซิโนแวคหรือแอสตร้าเซนเนก้าครบโดส

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าผู้ร่วมวิจัยสุขภาพดีอายุ 18-60 ปี จำนวน 352 คน ตั้งแต่มีนาคม-กันยายน 2564 เกณฑ์คัดเข้า เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคสองเข็ม หรือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็ม ไม่รับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด 19 มาก่อน

ผลการวิจัย  : 
  • โดยรวมแล้ว ผลข้างเคียงหลังจากเข็มบูสเตอร์ทุกชนิดนั้นมีระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง
  • สองสัปดาห์หลังจากเข็มบูสเตอร์ ค่าไตเตอร์แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์เดลต้าในกลุ่มที่ฉีดซิโนแวคเทียบกับกลุ่มที่ฉีดแอสตร้าเซนเนก้ามาก่อน สูงสุดในการฉีดกระตุ้นด้วยไฟเซอร์เต็มโดส (411 ต่อ 470) และ ไฟเซอร์ครึ่งโดส (499 ต่อ 358) และตามด้วย แอสตร้าเซนเนก้า (271 ต่อ 69) และซิโนฟาร์ม (61 ต่อ 49)
  • วัคซีนเข็มบูสเตอร์ไฟเซอร์สามารถกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันอินเตอร์เฟียรอนแกมมาได้สูงขึ้น
ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีนไฟเซอร์กระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบน้ำและแบบเซลล์ได้สูงสุด เมื่อเทียบกับวัคซีนซิโนฟาร์มหรือแอสตร้าเซนเนก้า
  • ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นหลังจากเข็มกระตุ้นในผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคสองเข็มมาก่อน เทียบกับแอสตร้าเซนเนก้า
  • การใช้วัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนซิโนฟาร์ม แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ทั้งเต็มโดสหรือครึ่งโดสนั้น มีความปลอดภัยและร่างกายต้านทานได้ดี
  • ผลข้างเคียงหลังจากเข็มบูสเตอร์ทุกชนิดนั้น มีระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง และไ่ม่มีรายงานผลข้างเคียงรุนแรง
  • ระดับโดสของวัคซีนไฟเซอร์ครึ่งโดส อาจจะใช้เป็นเข็มกระตุ้นได้ในภาวะวัคซีนขาดแคลน
อัพเดทข้อมูล  :  12/12/2564
แหล่งที่มา  :  The Preprint Sever MedRxiv
26 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

โมเดอร์นาประกาศกลยุทธ์รับมือกับสายพันธุ์น่ากังวลโอมิครอน B.1.1.529

Vaccines   :

โมเดอร์นา
หัวข้อวิจัย  :  โมเดอร์นาประกาศกลยุทธ์รับมือกับสายพันธุ์น่ากังวลโอมิครอน B.1.1.529
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 
  • สายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ที่น่ากังวลล่าสุดมีการกลายพันธุ์ผสมจากทั้งสายพันธุ์เบตาและเดลตาซึ่งถูกเชื่อว่าจะเพิ่มอัตราการแพร่เชื้อ การกลายพันธุ์ และทำให้หลบหลีกภูมิคุ้มกันมากขึ้น เป็นความเสี่ยงที่จะลดภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจากวัคซีนด้วย

กลยุทธ์ทั้ง 3 อย่าง คือ

  1. ทำการทดลองที่เพิ่มโดสวัคซีนบูสเตอร์โมเดอร์นาจาก 50 ไมโครกรัมเป็น 100 ไมโครกรัมในกลุ่มผู้ใหญ่สุขภาพดี
  2. กำลังทำการทดลองวัคซีนบูสเตอร์มัลติวาเลนท์อยู่สองชนิด ที่ถูกออกแบบให้คาดการณ์การกลายพันธุ์ล่วงหน้า รวมถึงการกลายพันธุ์ที่มีอยู่ในสายพันธุ์โอมิครอนด้วย
  3. โมเดอร์นาจะทำการศึกษาวัคซีนบูสเตอร์ชนิดที่ต้านทานสายพันธุ์โอมิครอนโดยเฉพาะชื่อ mRNA-1273.529 ภายใน 60-90 วัน
อัพเดทข้อมูล  :  13/12/2564
17 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การเปลี่ยนแปลงของการติดเชื้อ ความรุนแรง และประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า 10 เดือนหลังเริ่มต้นการฉีดวัคซีน: กรณีศึกษาของอิสราเอล

Vaccines   :

ไม่มีข้อมูล
หัวข้อวิจัย  :  การเปลี่ยนแปลงของการติดเชื้อ ความรุนแรง และประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า 10 เดือนหลังเริ่มต้นการฉีดวัคซีน: กรณีศึกษาของอิสราเอล
ชนิดวัคซีน  : 
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาแนวโน้มอุบัติการณ์ของโรคโควิด19 การเจ็บป่วยและการตายในอิสราเอล ตั้งแต่เริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีน และอภิปรายผลกระทบของสายพันธุ์เดลต้า

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลที่มีอยู่ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 16 ตุลาคม 2564
  •  ข้อมูลได้มาจากฐานข้อมูลแบบเปิดของกระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอล ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน PCR จำนวนผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยหนัก อัตราการเสียชีวิต ตามอายุและสถานะการฉีดวัคซีน และการเปลี่ยนแปลงประสิทธิผลของวัคซีน
  • อัตราการติดเชื้อและการติดเชื้อรุนแรง คำนวณและนำเสนอในรูปแบบ จำนวนประชากรที่ได้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีนต่อ 100,000 ประชากร ทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างอัตราที่เปรียบเทียบโดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการวิจัย  : 
  • การวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา

    •  ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 คาดว่ามีสัดส่วนมากกว่า 90% ของผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า
    • หลังจากการระบาด 3 ระลอก ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันเพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยรายใหม่ต่ำกว่า 30 รายต่อวันในช่วงกลางเดือนมิถุนายนเป็นระดับสูงสุดที่ 11,000 ราย ในต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2564
    • จำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรงที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าในระลอกก่อนหน้า และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส
  • การเปลี่ยนแปลงประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ต่อสายพันธุ์เดลต้า

    •  ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 2 เข็ม มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยประสิทธิผลได้ลดลงเมื่อมีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าเกิดขึ้นในประเทศอิสราเอล
    • ประสิทธิผลต่อการติดเชื้อลดลงจากประมาณ 95% ในเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม เหลือ 64% ในเดือนมิถุนายน 2564
    • ประสิทธิผลในการรักษาตัวในโรงพยาบาลยังคงค่อนข้างสูง โดยลดลงเล็กน้อยจาก 98% ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็น 93% ในเดือนมิถุนายน 2564
ข้ออภิปราย  : 
  • ในช่วง 3 เดือนแรกของการรณรงค์ฉีดวัคซีน ประชากรที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมีอัตราการป่วยที่สูงกว่ามาก
  • 4 เดือนหลังจากเริ่มฉีดวัคซีน มีอัตราการติดเชื้อและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ต่ำในทุกกลุ่ม
  • ข้อมูลจากการระบาดระลอกที่ 4 แสดงจำนวนของการรักษาในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับระลอกที่แล้ว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมมากขึ้น
  • จากข้อมูลปัจจุบัน วัคซีนไฟเซอร์รวมถึงบูสเตอร์โดส ยังคงมีประสิทธิผลต่อการติดเชื้อรุนแรง รวมถึงถึงประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย
อัพเดทข้อมูล  :  16/12/2564
แหล่งที่มา  :  ScienceDirect
17 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

วัคซีนโควิด19 ไฟเซอร์ เข็มกระตุ้นมีระดับการป้องกันที่สูงขึ้นมากในบุคคลอายุช่วง 50 ปี

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  วัคซีนโควิด19 ไฟเซอร์ เข็มกระตุ้นมีระดับการป้องกันที่สูงขึ้นมากในบุคคลอายุช่วง 50 ปี
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 3 ให้ “การป้องกันที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” ต่อผู้ที่มีอาการในอายุ 50 ปีขึ้นไป ไม่ว่าได้รับวัคซีนชนิดใดมาก่อน
  • การศึกษาโดยสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) พบว่าอย่างน้อย 20 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนครบด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ สามารถป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการได้ 44.1% และ 62.5% ตามลำดับ
  • แต่ 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 3 การป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการเพิ่มขึ้นเป็น 93.1% (95% CI, 91.7 ถึง 94.3) ในผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม และ 94.0% (95% CI, 93.4) ถึง 94.6) ในผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม

หมายเหตุ:

1. ยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่าเข็มกระตุ้นนี้ในสหราชอาณาจักรจะมีประสิทธิผลในการลดความเสี่ยงของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากน้อยแค่ไหน แต่จากงานวิจัยประเทศอิสราเอล สามารถคาดการณ์ได้ว่าเข็มกระตุ้นจะมีประสิทธิผลในการป้องกันอาการรุนแรงมากกว่าการป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการ

2. สหราชอาณาจักรเริ่มใช้วัคซีนเข็มกระตุ้นนี้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักสังคมสงเคราะห์ที่มีความเสี่ยงอายุต่ำกว่า 50 ปี อายุมากกว่า 16 ปีอาศัยอยู่กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่อยู่ในสถานดูแลระยะยาว

อัพเดทข้อมูล  :  22/11/2564
แหล่งที่มา  :  The British Medical Journal
15 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนโควิดชนิดเชื้อตายในบุคลากรทางการแพทย์

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนโควิดชนิดเชื้อตายในบุคลากรทางการแพทย์
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของประชากรไทยที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค

วิธีการวิจัย  : 
  • เป็นการศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าระยะยาว โดยทำการศึกษาที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
  • ผู้เข้าร่วมการศึกษา: บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลบ้านแพ้วที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี และได้รับวัคซีนซิโนแวคสองเข็มห่างกันสามอาทิตย์
  • ผลที่ต้องการศึกษา

    • ผลที่ต้องการศึกษาหลัก: แอนติบอดีรวมต่อตัวรับบนผิวเซลล์ของโปรตีนหนาม และ แอนติบอดีชนิดอิมมิวโนโกลบูลิน G ต่อ N โปรตีน ของไวรัสโควิด
    • ผลที่ต้องการศึกษารอง:

      •  ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์เฉพาะที่ต่อวัคซีน เช่น อาการปวด บวม แดง
      •  ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ในระบบอื่นๆ เช่น ไข้ แพ้ ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ
  •  ช่วงเวลาที่ทำการศึกษา: ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2564 – 25 มิถุนายน 2564
ผลการวิจัย  : 
  • ผลการศึกษาหลัก

    • แอนติบอดีรวมต่อ RBD

      • หลังจากได้วัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม
      • อัตราการสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ต่อ RBD: 67%
      • ค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกัน: 1.98 U/ml
      • หลังจากได้วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม
      •  อัตราการสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ต่อ RBD: 100%
      • ค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกัน: 92.9 U/ml.
    • อัตราการสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ของแอนติบอดีชนิดอิมมิวโนโกลบูลิน G ต่อ N โปรตีน: 1% หลังจากได้วัคซีน 1 เข็มและ 62.8% หลังจากได้วัคซีนสองเข็ม
  • ผลการศึกษารอง

    • อุบัติการณ์รวมของการเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์: 59.5%
    • อาการปวดเฉพาะบริเวณที่ฉีดวัคซีนเป็นปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์เฉพาะที่ต่อวัคซีนที่พบมากที่สุด (52.4%)
    • อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ในระบบอื่นๆที่พบมากที่สุด (31.9%)
    • ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ชนิดรุนแรง
ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีนซิโนแวคสองเข็มฉีดห่างกัน 3 อาทิตย์มีความปลอดภัยและทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่น่าพึงพอใจ
  • ข้อจำกัดของการศึกษา:

    • การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในการศึกษานี้จำกัดอยู่เฉพาะภูมิคุ้มกันแบบน้ำ โดยไม่ได้รวมถึงภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ด้วย
    • ไม่มีการศึกษาถึงความสามารถในการลบล้างฤทธิ์และคุณภาพของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากวัคซีน
    • ผลการศึกษานี้อาจไม่สามารถสรุปรวมถึงประชากรกลุ่มที่มีโรคประจำตัว หรือมีโรคภูมิแพ้เดิมได้
อัพเดทข้อมูล  :  16/12/2564
แหล่งที่มา  :  Wiley Online Library
14 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันไวรัส SARS-CoV-2: การศึกษาแบบการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis)

Vaccines   :

ซิโนแวค โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันไวรัส SARS-CoV-2: การศึกษาแบบการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis)
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันไวรัส SARS-CoV-2

วิธีการวิจัย  : 
  1. รวบรวมการศึกษาแบบสังเกตที่ศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันไวรัส SARS-CoV-2
  2. เพื่อประมาณประสิทธิผลโดยรวม และ อัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ตามหลังการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส SARS-CoV-2
ผลการวิจัย  : 
  1. จากข้อมูลที่รวบรวมทั้งหมด 58 การศึกษา การฉีดวัคซีน 2 เข็มมีประสิทธิผลสูงกว่าการฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม โดยมีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 85% ป้องการการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีอาการ 97% การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 93% การเข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต 96% และการเสียชีวิต 95%
  2. อุบัติการณ์การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ชนิดรุนแรงตามหลังการฉีดวัคซีนคิดเป็น 0.4 ต่อ 10,000 รายช่วงเวลาที่ทำการศึกษา และผู้เสียชีวิตตามหลังการฉีดวัคซีนคิดเป็น 0.1ต่อ 10,000
ข้ออภิปราย  : 

วัคซีนป้องการกันการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลช่วยลดการเสียชีวิต การป่วยรุนแรง การติดเชื้อแบบมีอาการและการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้

อัพเดทข้อมูล  :  29/03/2565
แหล่งที่มา  :  BioMed Central
11 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การเปรียบเทียบการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนไฟเซอร์ โดยเปรียบเทียบระยะเวลาของการฉีดแบบมาตรฐานและการขยายระยะเวลาการฉีดระหว่างเข็ม

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การเปรียบเทียบการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนไฟเซอร์ โดยเปรียบเทียบระยะเวลาของการฉีดแบบมาตรฐานและการขยายระยะเวลาการฉีดระหว่างเข็ม
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อติดตามการตอบสนองของแอนติบอดี และ T cell หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครั้งแรก และเปรียบเทียบระหว่างสูตรการฉีดแบบระยะสั้นและระยะยาว ที่ 4 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม โดยนำมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลประสิทธิศักย์ของการป้องกัน

วิธีการวิจัย  : 
  1. ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มวัยทำงานที่มีสุขภาพดี
  2. ประเมินระดับของแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์แบบมาตรฐาน (3 ถึง 4 สัปดาห์) และกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์แบบที่มีการขยายการฉีดระหว่างเข็ม (6 ถึง 14 สัปดาห์)
  3. ประเมินผลกระทบของการขยายระยะเวลาในการฉีดระหว่างเข็ม เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการให้วัคซีนไฟเซอร์ที่มีการขยายระยะเวลา
ผลการวิจัย  : 
  1. ผลของระดับภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้น ภายใน 3 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครั้งที่ 1 โดยมีประสิทธิผลของวัคซีนสูงถึง 72% และระดับภูมิคุ้มกันยังคงปรากฏอยู่หลังการรับวัคซีนครั้งที่สอง
  2. ภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำเกิดจากวัคซีนเข็มที่ 1 แม้ว่าจะมีระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสายพันธ์ุเบตาและเดลตา การตอบสนองของแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์จะสูงสุดหลังการกระตุ้น และลดลงในช่วงของระยะเวลาที่ขยายออกไป ซึ่งส่วนใหญ่จะพบได้ในกลุ่มที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด 19 หลังจากการฉีดวัคซีนครั้งที่สอง
  3. ช่วงระยะเวลาของการให้วัคซีนที่นานขึ้นมีความสัมพันธ์กับการสร้างเซลล์ อินเตอรืลิวคิน-2 ในระดับที่สูงขึ้นของ ที่มีหน้าที่ในการหลั่ง CD4+T ในกลุ่มที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด 19 และพบว่ามีระดับของอินเตอร์เฟียรอนที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้น CD8+T ต่ำลงเล็กน้อย
ข้ออภิปราย  : 
  1. การตอบสนองทางเซรุ่มวิทยาต่อวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 1 หรือ 2 จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่จะสูงขึ้นหลังจากมีการยืดช่วงระยะเวลาการฉีดวัคซีนที่ขยายออกไป
  2. การตอบสนองของ T cell ยังคงอยู่ ตั้งแต่ 1 ถึง 13 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 ซึ่งการตอบสนองนี้มีความแตกต่างกับการศึกษาวัคซีนอื่นๆ
  3. ระดับภูมิคุ้มกันและระดับแอนติบอดีของการฉีดวัคซีนไฟเซอร์แบบที่มีการขยายการฉีดระหว่างเข็ม (6 ถึง 14 สัปดาห์) มีระดับสูงมากพอในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19
อัพเดทข้อมูล  :  29/03/2565
แหล่งที่มา  :  The New England Journal of Medicine
7 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในวัคซีนสูตรไขว้ด้วยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย(ซิโนแวค) และชนิดพาหะไวรัส(แอสตร้าเซนเนก้า) ในผู้ใหญ่สุขภาพดี

Vaccines   :

ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในวัคซีนสูตรไขว้ด้วยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย(ซิโนแวค) และชนิดพาหะไวรัส(แอสตร้าเซนเนก้า) ในผู้ใหญ่สุขภาพดี
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินปฏิกิริยาตอบสนองและความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในวัคซีนสูตรไขว้ด้วยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (ซิโนแวค) และชนิดพาหะไวรัส (แอสตร้าเซนเนก้า)

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาไปข้างหน้าระหว่างมีนาคมถึงพฤษภาคม 2564ในผู้ใหญ่สุขภาพดีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  • มี 4 กลุ่มการศึกษา ได้แก่ 90 คนฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย 2 เข็ม 90 คนฉีดวัคซีนชนิดพาหะไวรัส 2 เข็ม 46 คนฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย ตามด้วยพาหะไวรัส และ 48 คนฉีดวัคซีนชนิดพาหะไวรัสตามด้วยวัคซีนเชื้อตายตามลำดับ
  • ศึกษาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แอนติบอดีชนิด anti-RBD-IgG, anti-N IgG, anti-S1 IgA แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ และภูมิคุ้มกันชนิดทีเซลล์
ผลการวิจัย  : 
  • ลักษณะพื้นฐานในแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
  • วัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อ RBD และแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมและและสายพันธุ์น่ากังวลได้มากกว่าวัคซีนชนิดซิโนแวค 2 เข็ม และไม่ด้อยกว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม
  • วัคซีนสูตรไขว้มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากกว่าวัคซีนชนิดเดียวกัน 2 เข็ม
ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้าอาจเป็นทางเลือกนอกเหนือจากการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มได้

 

หมายเหตุ

จำเป็นต้องมีการศึกษาความอยู่ทนของภูมิคุ้มกันและประสิทธิศักย์ทางคลินิกต่อไป

อัพเดทข้อมูล  :  01/02/2565
แหล่งที่มา  :  medRxiv
3 พฤศจิกายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีนโควาซินป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทภารัต ไบโอเทค (ผลิตจากไวรัสโควิด-19 ทั้งตัวชนิดเชื้อตาย)

Vaccines   :

โควาซิน
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีนโควาซินป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทภารัต ไบโอเทค (ผลิตจากไวรัสโควิด-19 ทั้งตัวชนิดเชื้อตาย)
ชนิดวัคซีน  :  โควาซิน
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

1. สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่อการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สำหรับอายุ 18 ปีขึ้นไป
2. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

28 วัน

ข้อห้าม

ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิไวเกินต่อส่วนประกอบใดของวัคซีน

ข้อควรระวัง

1. ห้ามฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ทางผิวหนัง หรือทางใต้ผิวหนัง
2. ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม
3. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
4. บุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
5. กลุ่มประชากรเด็ก

อัพเดทข้อมูล  :  01/02/2565
29 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศรับรองให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์แบบฉุกเฉินสำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศรับรองให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์แบบฉุกเฉินสำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้:

  1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศรับรองให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์แบบฉุกเฉินสำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี
  2. ประสิทธิผลของวัคซีน: การตอบสนองภูมิคุ้มกันในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี เทียบเท่ากับการตอบสนองภูมิคุ้มกันในบุคคลอายุ 16-25 ปี และมีประสิทธิผลการป้องกันโควิด19 90.7% ในเด็กอายุ 5-11 ปี
  3. ความปลอดภัย: ความปลอดภัยของวัคซีนชนิดนี้ในการศึกษาหนึ่ง (ยังทำการศึกษาอยู่อย่างต่อเนื่อง) ในเด็กอายุ 5-11 ปี จำนวนประมาณ 3,100 คน ยังไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ
  4. คณะกรรมการภูมิคุ้มกันจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ จะมีการประชุมในสัปดาห์ถัดไป เกี่ยวกับคำแนะนำเพิ่มเติม
อัพเดทข้อมูล  :  05/11/2564
แหล่งที่มา  :  U.S. FDA
22 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ในการป้องกันการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ในกลุ่มคนอายุ 12-18 ปี – การศึกษาในสหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือนมิถุนายน–กันยายน 2564

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ในการป้องกันการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ในกลุ่มคนอายุ 12-18 ปี – การศึกษาในสหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือนมิถุนายน–กันยายน 2564
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมิน ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ต่อการป้องกันการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากโรคโควิด-19 ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12-18 ปี

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาแบบกลุ่มควบคุมผลตรวจลบ
  • ผู้เข้าร่วมอายุ 12-18 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเด็ก 19 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน พ.ศ. 2564

    • กลุ่ม Case แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

      • Case-patients ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการป่วยคล้ายโควิด19 และผลบวกของ SARS-CoV-2 RT-PCR หรือผลการทดสอบแอนติเจน
      • No case-patients ที่ได้รับการวินิจฉัยกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C) ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล
    • กลุ่มควบคุมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

      • ผู้ป่วยที่มีอาการที่เข้ากันได้กับ COVID-19 ที่มีผลลบ SARS-CoV-2 RT-PCR หรือผลการทดสอบแอนติเจน (test-negative)
      • ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ซึ่งอาจเคยหรือไม่เคยได้รับการทดสอบ SARS-CoV-2 (syndrome-negative)
  • เฉพาะผู้รับวัคซีนไฟเซอร์ เท่านั้นที่ได้รับการประเมินในการศึกษานี้
  • ลักษณะทางประชากรพื้นฐาน ข้อมูลทางคลินิกเกี่ยวกับความเจ็บป่วยในปัจจุบัน และประวัติการทดสอบ SARS-CoV-2 ได้มาจากการสัมภาษณ์พ่อแม่หรือผู้ปกครอง
ผลการวิจัย  : 
  • ในกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 179 ราย มีผู้ป่วย 6 ราย (ร้อยละ 3) ได้รับการฉีดวัคซีน และ 173 ราย (97%) ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
  • Case patients จำนวน 77 ราย (43%) เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก และผู้ป่วยวิกฤต 29 ราย (16%) ได้รับการช่วยชีวิตระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงการใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • ระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วัน (IQR = 2–9 วัน) ใน case patients ที่ไม่ได้รับวัคซีน และ 3 วัน (IQR = 2-4 วัน) ใน case patients ที่ได้รับวัคซีน
  • ประสิทธิผลต่อป้องกันการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคโควิด-19 อยู่ที่ 93% (95% CI = 83%–97%) ในช่วงเวลาที่มีการระบาดของสายพันธุ์ B.1.617.2 (เดลต้า)
ข้ออภิปราย  : 

ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน 2564 การรับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มให้การป้องกันในระดับสูงต่อการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี จากการวิเคราะห์ข้อมูลของโรงพยาบาลเด็ก 19 แห่งในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมในกลุ่มนี้สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคโควิด19 ที่รุนแรงในสหรัฐอเมริกาได้

หมายเหตุ.

ข้อจำกัดของการศึกษานี้ คือ ไม่สามารถประเมินประสิทธิผลของวัคซีนได้โดยตรงกับสายพันธุ์เฉพาะ ซึ่งสายพันธุ์เด่นในช่วงระยะเวลาการศึกษาคือ B.1.617.2 (เดลต้า)

อัพเดทข้อมูล  :  08/12/2564
20 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

FDA ดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Booster Dose สำหรับวัคซีน COVID-19

Vaccines   :

แจนเซ่น โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  FDA ดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Booster Dose สำหรับวัคซีน COVID-19
ชนิดวัคซีน  :  แจนเซ่น , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 
  • 1. การใช้วัคซีนโมเดอร์นา COVID-19 แบบบูสเตอร์โดสเดียว อาจพิจารณาให้อย่างน้อย 6 เดือนหลังจากฉีดครบโดสไปแล้ว อย่างน้อย 6 เดือน สำหรับกลุ่มบุคคลต่อไปนี้

    • อายุ 65 ปีขึ้นไป
    • อายุ 18 ถึง 64 ปีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด-19
    • อายุ 18 ถึง 64 ปีที่มีการสัมผัสกับเชื้อไวรัสโควิด 19 ในสถาบันหรือจากการประกอบอาชีพ
  • การใช้วัคซีนป้องกัน COVID-19 ของแจนเซ่น (จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน) แบบบูสเตอร์โดสเดียวอาจพิจารณาให้หลังจากฉีดครบโดสไปแล้ว อย่างน้อย 2 เดือน สำหรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • สำหรับการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 สูตรผสม ให้พิจารณาเข็มบูสเตอร์จากวัคซีนที่เคยฉีดมาก่อนแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน
  • อาจพิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ บูสเตอร์โดสเดียว หลังจากฉีดครบโดสแล้วอย่างน้อย 6 เดือน แก่บุคคลที่มีอายุ 18 ถึง 64 ปีที่มีการสัมผัสเชื้อ SARS-CoV-2 ในสถานที่ทำงานหรือจากการประกอบอาชีพ
อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
แหล่งที่มา  :  U.S. FDA
17 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่จำเพาะ (HMI) และการตอบสนองชนิดพึ่งเซลล์ (CMI) หลังได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต (CVIM 1 study)

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่จำเพาะ (HMI) และการตอบสนองชนิดพึ่งเซลล์ (CMI) หลังได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต (CVIM 1 study)
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต (KT) หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดเชื้อตายครบ 2 เข็ม และศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่จำเพาะ (SARS-CoV-2-specific humoral: HMI) และการตอบสนองชนิดพึ่งเซลล์ (cell-mediated immune: CMI) ร่วมกับการประเมินความปลอดภัย

วิธีการวิจัย  : 
  1. การศึกษาแบบไปข้างหน้า ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2564
  2. กลุ่มตัวอย่างจำนวน 75 ราย (ผู้ป่วยปลูกถ่ายไต 37 ราย และกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี 38 ราย) ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์
  3. วัดระดับภูมิคุ้มกันที่จำเพาะ (SARS-CoV-2-specific humoral:HMI) และการตอบสนองชนิดพึ่งเซลล์ (CMI) ก่อนได้รับวัคซีน, 4 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก และ 2 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2
  4. มัธยฐานอายุ (IQR) ของผู้ป่วยปลูกถ่ายไต คือ 50 (42–54) ปี และ 89% ได้รับยา calcineurin inhibitors/mycophenolate/corticosteroid
  5. มัธยฐานระยะเวลา (IQR) นับตั้งแต่การปลูกถ่ายไตคือ 4.5 (2–9.5) ปี
ผลการวิจัย  : 
  1. ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตจำนวน 35 คน มีค่ามัธยฐาน (IQR) ของระดับ anti-RBD IgG ที่วัดโดย CLIA หลังการฉีดวัคซีนไม่แตกต่างจากการตรวจวัดพื้นฐาน แต่ต่ำกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (2.4 [1.1–3.7] vs 1742.0 [747.7–3783.0 ] AU/ml, p < .01)
  2. ร้อยละของการยับยั้งแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ซึ่งวัดโดยวิธี surrogate viral neutralization test (0% [0-0] vs 71.2% [56.8–92.2], p < .01)
  3. ค่ามัธยฐาน (IQR) ของการตอบสนองของ SARS-CoV-2 mixed peptides-specific T cell ที่วัดโดย ELISpot เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการตรวจวัดพื้นฐาน (30 [4-120] vs 12 [0-56] T cells/106 PBMCs, p = .02) และไม่แตกต่างจากการควบคุม
  4. พบอาการไม่พึงประสงค์เพียงเล็กน้อยและไม่รุนแรงหลังจากการฉีดวัคซีน
ข้ออภิปราย  : 

ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต มีการตอบสนองของแอนติบอดี และปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์ต่อสไปค์โปรตีนในระดับต่ำ แต่มีการตอบสนองที่เหมาะสมต่อ SARS-CoV-2-specific T cell หลังจากได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายครบ 2 เข็ม โดยมีอาการข้างเคียงที่ยอมรับได้ และผลลัพธ์ในระยะสั้นเป็นที่น่าพอใจ

อัพเดทข้อมูล  :  23/03/2565
แหล่งที่มา  :  American Journal of TRANSPLANTATION
17 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และ mRNA ชนิดไขว้ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการในสวีเดน: การศึกษาแบบติดตามระดับประเทศ

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และ mRNA ชนิดไขว้ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการในสวีเดน: การศึกษาแบบติดตามระดับประเทศ
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และ mRNA ชนิดไขว้ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการในสวีเดน

วิธีการวิจัย  : 
  • กลุ่มการศึกษา ได้แก่:

    • 94,569 รายที่ได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca โดยได้รับวัคซีน Pfizer เป็นเข็มกระตุ้น
    • 16,402 คนที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca โดยได้รับวัคซีน Moderna เป็นเข็มกระตุ้น
    • 430,100 คนที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca โดยได้รับวัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มกระตุ้น
  • 180,716 รายที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับการคัดเลือก ณ วันที่ฉีดวัคซีน
  • วันที่เริ่มนับเพื่อสังเกตผลคือ คือวันที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 โดยมีวันเดียวกันในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
  • ผลลัพธ์ประกอบด้วยอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการซึ่งเกิดขึ้น >14 วันหลังจากวันที่เริ่มนับ
ผลการวิจัย  : 
  • ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนต่างชนิดกัน พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการจำนวน 187 ราย (อัตราอุบัติการณ์: 2.0/100,000 person-days) และจำนวน 306 คน ในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับวัคซีน (อัตราอุบัติการณ์: 7.1/100,000 person-days)
  •  ประสิทธิผลของวัคซีน คือ

    • 67% (95% CI, 59-73, P<0.001) ในกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ เป็นเข็มกระตุ้น
    •  79% (95% CI, 62-88, P<0.001) ในกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยได้รับวัคซีนโมเดอร์นา เป็นเข็มกระตุ้น
  • เมื่อรวมผลและวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่าการฉีดวัคซีนไขว้ทั้งสองชนิดที่ต่างกันเป็นเข็มกระตุ้นมีประสิทธิผล 68% (95% CI, 61-74, P<0.001) ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ชนิดเดิมเป็นเข็มกระตุ้น (ประสิทธิผล 50%) อย่างมีนัยสำคัญ
ข้ออภิปราย  : 

ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และ mRNA ฉีดครบโดสด้วยแอสตร้าเซนเนก้าและตามด้วยเข็มกระตุ้นต่างชนิดกันเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของประชากรต่อโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าในระหว่างระยะเวลาการศึกษา

อัพเดทข้อมูล  :  13/12/2564
แหล่งที่มา  :  The Lancet Journal
14 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนกาที่ผลิตในประเทศไทย ได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลก

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
หัวข้อวิจัย  :  วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนกาที่ผลิตในประเทศไทย ได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลก
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งเกิดจากไวรัส SARS-Cov-2 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

4 – 12 สัปดาห์

ข้อห้าม

แพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน และผู้ป่วยที่มีประวัติมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำและ/หรือหลอดเลือดแดง ร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำหลังจากได้รับวัคซีนโควิดชนิดใดก็ตาม

ข้อควรระวัง

ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 15 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน
โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันและภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

หมายเหตุ

“ทุกลอตของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตที่บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ผ่านกระบวนการผลิตและตรวจสอบอย่างเคร่งครัด ผ่านผู้ควบคุมและห้องแล็บต่างประเทศในทวีปยุโรปและประเทศอเมริกา” กล่าวโดย คุณนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรกิตติมศักดิ์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

อัพเดทข้อมูล  :  16/12/2564
11 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การประเมินประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป่วยหนักจากโรคโควิด19ในผู้ที่มีอายุ 50 ถึง 74 ปีและอายุ 75 ปีขึ้นไปในฝรั่งเศส

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การประเมินประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป่วยหนักจากโรคโควิด19ในผู้ที่มีอายุ 50 ถึง 74 ปีและอายุ 75 ปีขึ้นไปในฝรั่งเศส
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป่วยหนักจากโรคโควิด19 EPI-PHARE ศึกษาผลการวิจัยในโลกความเป็นจริงโดยใช้ข้อมูลจากระบบสาธารณสุขในประเทศชื่อ SNDS

วิธีการวิจัย  : 
  • ข้อมูลการติดตามผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและไม่มีปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 22.6 ล้านคน ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จากฐานข้อมูลระดับชาติ VAC-SI และระบบข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (SNDS) ของฝรั่งเศส
  • ผู้รับการฉีดวัคซีนแต่ละรายถูกจับคู่ตามลำดับเวลา (ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2564) ถึงวันที่ฉีดวัคซีน (หรือวันที่ดัชนี) กับอาสาสมัครที่มีอายุเท่ากัน (ปีเกิดเดียวกัน) เพศ และเขตการปกครอง
  • ประเมินการลดความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 แบบรุนแรงหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สอง 14 วัน
  • มีการประเมินประสิทธิศักย์โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าในฝรั่งเศส (ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน ถึง 20 กรกฎาคม 2564)
ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิผลของวัคซีน

    • ภาพรวมการลดลงของความเสี่ยงต่อการรักษาในโรงพยาบาลจากโควิด-19 สำหรับวัคซีนทั้งหมด คือ 92% (95% CI, 91% ถึง 94%)
    • การลดความของเสี่ยงต่อการเสียชีวิตระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลจากโควิด-19 คือ 86% (95% CI, 78% ถึง 91%) ที่ 14 วันหลังจากฉีดเข็มที่สอง
    • ประสิทธิผลของวัคซีนต่อการติดเชื้อโควิด-19 รุนแรง ดูเหมือนจะไม่ลดลงตลอดระยะเวลาติดตามผลสูงสุด 5 เดือน
    • ในกลุ่มอายุ 75 ปีขึ้นไป ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ คือ 94% จากการติดตามผล 5 เดือน
    • ในกลุ่มอายุ 50 ถึง 74 ปี ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ คือ 97% จากการติดตามผล 4 เดือน
  • ผลกระทบของสายพันธุ์เดลต้า การประเมินประสิทธิภาพของการลดความเสี่ยงต่อการรักษาในโรงพยาบาลจากโควิด-19 ดังนี้

    • ในกลุ่มประชากรอายุ 75 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพคือ 84% (95% CI, 75% ถึง 90%)
    • ในกลุ่มประชากรอายุ 50 ถึง 74 ปี ประสิทธิภาพ 92% (95% CI, 89% ถึง 95%)
ข้ออภิปราย  : 

วัคซีนป้องกันโควิด19 (ที่อยู่ในการศึกษานี้) ทั้งหมด มีประสิทธิภาพสูงและมีผลอย่างมากต่อการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงของโควิด19 ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปในฝรั่งเศสใน
การติดตามผลอย่างต่อเนื่องโดย PPE-PHARE จะทำให้สามารถวัดวิวัฒนาการของประสิทธิภาพในระยะเวลาที่นานขึ้นและระบุลักษณะพิเศษของสายพันธุ์เดลต้าได้ดีขึ้น

หมายเหตุ:

1. สำหรับวัคซีนโมเดอร์นา และ แอสตร้าเซนเนก้าการติดตามผลสั้นเกินไปที่จะศึกษาผลของวัคซีนได้ในช่วง 4 หรือ 5 เดือน
2. สำหรับการศึกษาผลกระทบของสายพันธุ์เดลต้า การลดความเสี่ยงของการรักษาในโรงพยาบาลจากโควิด19 นั้นประมาณการเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าในฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายนถึง 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
7 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การฉีดวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) กระตุ้นเข็มที่ 3 ในการป้องกันโรคโควิด19 ในประเทศอิสราเอล

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การฉีดวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) กระตุ้นเข็มที่ 3 ในการป้องกันโรคโควิด19 ในประเทศอิสราเอล
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาการลดอัตราการเกิดโรคโควิด19 และการเป็นโรคโควิด19 ที่มีอาการรุนแรงหลังการฉีดวัคซีนโควิด19 เข็มกระตุ้น

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาแบบสังเกตภาคตัดขวาง จากข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขที่ดึงข้อมูลวันที่ 2 กันยายน 2564
  • มีผู้เข้าการศึกษา 1,137,804 คน
  • ศึกษาในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่ฉีดวัคซีนโควิด19 ครบ 5 เดือนก่อนการศึกษา
  • ช่วงเวลาการศึกษาตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 สำหรับการติดโรคโควิด19 และถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2564 สำหรับการเป็นโรคโควิด19 ที่มีอาการรุนแรง
ผลการวิจัย  : 
  • อัตราการเกิดโรคโควิด19 ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นประมาณ 11.3 เท่า
  • อัตราการเกิดโรคโควิด19 ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นประมาณ 86.6 คนต่อ 100,000 คน-วัน
  • อัตราการเกิดโรคโควิด19ที่มีอาการรุนแรง ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นประมาณ 19.5 เท่า
  • อัตราการเกิดโรคโควิด19ที่มีอาการรุนแรงในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นประมาณ 7.5 คนต่อ 100,000 คน-วัน
ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ สามารถลดอัตราการเกิดโรคโควิด19 และโรคโควิด19 ที่มีอาการรุนแรงในประชากรผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในประเทศอิสราเอลที่เคยได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มได้

อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
แหล่งที่มา  :  New England Journal of Medicine
1 ตุลาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิศักย์ของวัคซีนโควิด 19 ต่อสายพันธุ์ B.1.617.2 (สายพันธุ์เดลตา)

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิศักย์ของวัคซีนโควิด 19 ต่อสายพันธุ์ B.1.617.2 (สายพันธุ์เดลตา)
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลประสิทธิศักย์ของวัคซีนโควิด 19 ในแง่มุมของการเกิดการติดเชื้อโดยรวม การติดเชื้อรุนแรง และการติดเชื้อที่ทำให้เสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีน 3 ชนิดคือวัคซีนชนิด messenger RNA (mRNA) วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ และวัคซีนชนิดเชื้อตาย

วิธีการวิจัย  : 
  • เป็นการวิเคราะห์อภิมาน ประกอบด้วย การวิจัยทางคลินิก 7 ชิ้น
  • วัคซีน 3 ประเภท (รวมทั้งหมด 6 ยี่ห้อ)
  • ผู้เข้าร่วมการศึกษรวม 504,781 ราย
  • ผลที่ต้องการศึกษา: ประสิทธิศักย์ของวัคซีนโควิด 19 ต่อ การติดเชื้อโดยรวม การติดเชื้อรุนแรง และการติดเชื้อที่ทำให้เสียชีวิต
ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิศักย์ของวัคซีนโควิด19 ต่อการเกิดการติดเชื้อโดยรวมในสายพันธุ์เดลตา
    • 59% ในวัคซีนชนิดเชื้อตาย
    • 67.2% ในวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ
    • 77.74% ในวัคซีนชนิด mRNA
  • ประสิทธิศักย์ของวัคซีนโควิด19 ต่อการเกิดการติดเชื้อรุนแรง (ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก)
    • 70.2% ในวัคซีนชนิดเชื้อตาย
    • 95% ในวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ
    • 89.25% ในวัคซีนชนิด mRNA
  • อุบัติการณ์การเสียชีวิตในผู้ได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายและ mRNA เท่ากับ 0%
ข้ออภิปราย  : 
  • ประสิทธิศักย์ของวัคซีนต่อป้องกันการติดเชื้อโดยรวมที่เกิดจากสายพันธุ์เดลต้าพบว่าวัคซีนชนิด mRNA มีประสิทธิศักย์สูงที่สุด รองมาคือวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะและวัคซีนชนิดเชื้อตาย ตามลำดับ ซึ่งผลเป็นไปในทางเดียวกับประสิทธิศักย์ของวัคซีนต่อป้องกันการติดเชื้อโดยรวมที่เกิดจากสายพันธุ์ดั้งเดิม
  • ประสิทธิศักย์ของวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิดในการป้องกันสายพันธุ์เดลตามีระดับลดลงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม
อัพเดทข้อมูล  :  09/11/2564
23 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ประเทศอิหร่านหลังจากได้รับวัคซีนซิโนฟาร์ม 1 เข็ม

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม
หัวข้อวิจัย  :  การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ประเทศอิหร่านหลังจากได้รับวัคซีนซิโนฟาร์ม 1 เข็ม
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม
จุดประสงค์  : 

เพื่อรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังจากได้รับวัคซีนซิโนฟาร์ม 1 เข็มในผู้ป่วยโรค multiple sclerosis ประเทศอิหร่าน

วิธีการวิจัย  : 
  • ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่ได้รับการฉีดวัคซีน จะได้รับลิงค์ google form เพื่อกรอกข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนผ่านทางโซเชียลมีเดีย ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 – 22 เมษายน 2564
  • เนื่องจากวัคซีนหลักในกลุ่มประชากรนี้คือวัคซีนซิโนฟาร์ม ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนอื่นจะถูกคัดออกจากการเข้าร่วมการศึกษา
ผลการวิจัย  : 
  • พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างน้อย 1 เหตุการณ์ในผู้ได้รับวัคซีน 350 ราย (60%)

    • พบอาการทั่วไป (ไม่สบายเนื้อสบายตัว, อ่อนเพลีย, ไข้, สั่น และปวดเมื่อยตัว) ในผู้ได้รับวัคซีนจำนวน 299 ราย (51%)
    • พบอาการปวดหัวรองลงมา (ในผู้ได้รับวัคซีนจำนวน 55 ราย คิดเป็น 9%)
  • การเกิดอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่แย่ลงหรือการเกิดการกำเริบของโรค

    • ผู้ได้รับวัคซีน 2 ราย (3%) มีอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่แย่ลง
    • ผู้ได้รับวัคซีน 5 ราย (0.9%) มีการกำเริบของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ข้ออภิปราย  : 
  • ไม่พบการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง
  • มีผู้ได้รับวัคซีนเพียง 5 ราย (0.9%) ที่เกิดการกำเริบของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งและมีผู้ที่มีอาการของโรคแย่ลงจำนวนเล็กน้อย
อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
แหล่งที่มา  :  Science Direct Journal
22 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาความปลอดภัยและการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในวัคซีนหัวเชื้อไวรัสตั้งต้นที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมไวรัสนิวคาสเซิลให้มีโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโควิด-19: ผลการศึกษาเบื้องต้นจากการศึกษาแบบสุ่มเทียบกับวัคซีนหลอก ระยะที่ 1/2

Vaccines   :

HXP-GPOVac
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาความปลอดภัยและการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในวัคซีนหัวเชื้อไวรัสตั้งต้นที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมไวรัสนิวคาสเซิลให้มีโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโควิด-19: ผลการศึกษาเบื้องต้นจากการศึกษาแบบสุ่มเทียบกับวัคซีนหลอก ระยะที่ 1/2
ชนิดวัคซีน  :  HXP-GPOVac
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาความปลอดภัยและการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในวัคซีนหัวเชื้อไวรัสตั้งต้นที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมไวรัสนิวคาสเซิลให้มีโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโควิด-19

วิธีการวิจัย  : 

ผลการศึกษาระยะที่ 1 จากการศึกษาแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ เทียบกับวัคซีนหลอก ระยะที่ 1/2 ศึกษาในผู้มีสุขภาพดี อายุตั้งแต่ 18-59 ปี ตั้งแต่ 22 มีนาคม ถึง 23 เมษายน 2564 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนหัวเชื้อไวรัสตั้งต้นที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมไวรัสนิวคาสเซิลให้มีโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโควิด-19

ผลการวิจัย  : 
  • มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 210 คน คัดออก 5 คน
  • ผลข้างเคียงภายใน 7 วัน ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและเป็นชั่วคราว ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขนิดรุนแรงจากวัคซีน
  • เรียงลำดับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากมากไปน้อยได้แก่ 10 µg, 3 µg + 1.5 µg สารเสริมฤทธิ์ไซโตไคน์ฟอสฟากัวนีน, 3 µg, 1 µg + 1.5 µg สารเสริมฤทธิ์ไซโตไคน์ฟอสฟากัวนีน, และ 1 µg ตามลำดับ
ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีน NDV-HXP-S มีความปลอดภัยจากผลการศึกษาระยะที่ 1
  • วัคซีน NDV-HXP-S สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ขึ้นกับสูตรและขนาดของยาโดย ระดับแอนดิบอดี anti-S-IgG และแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์เพิ่มสูงขึ้น 14 วันหลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หลายเท่าเมื่อเทียบกับเลือดของผู้ป่วยโรคโควิด 19 อาการเล็กน้อย ถึงปานกลางในปีพ.ศ. 2563
  • สูตรวัคซีน 3 µg + 1.5 µg สารเสริมฤทธิ์ไซโตไคน์ฟอสฟากัวนีน ได้รับเลือกเพื่อทำการศึกษาในระยะที่ 2 ต่อไป

 

อัพเดทข้อมูล  :  17/12/2564
แหล่งที่มา  :  The Preprint medRxiv
22 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิศักย์ของวัคซีน mRNA-1273 SARS-CoV-2 (โมเดอร์นา) เมื่อสิ้นสุดระยะปกปิดข้อมูลผู้สังเกตการณ์

Vaccines   :

โมเดอร์นา
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิศักย์ของวัคซีน mRNA-1273 SARS-CoV-2 (โมเดอร์นา) เมื่อสิ้นสุดระยะปกปิดข้อมูลผู้สังเกตการณ์
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา
จุดประสงค์  : 

เพื่อรายงานประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของวัคซีน ในการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายของการทดลองระยะปกปิดข้อมูลผู้สังเกตการณ์

วิธีการวิจัย  : 
  • เป็นการวิเคราะห์ผลการวิจัยขั้นแรกก่อนสิ้นสุดตามแผนในการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ชนิดมีกลุ่มควบคุม
  • อาสาสมัครผู้ใหญ่ 30,415 คนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด19 หรือภาวะแทรกซ้อนได้รับการสุ่มในอัตราส่วน 1:1 เพื่อรับวัคซีน mRNA-1273 จำนวน 2 โดส และวัคซีนหลอก
  • แบ่งชั้นตามอายุและเกณฑ์ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคโควิด19 (≥18 ถึง <65 ปีและไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ≥18 ถึง <65 ปีและมีความเสี่ยง และ ≥65 ปี)
  • ผลลัพธ์หลักคือการป้องกันโรคโควิด19 โดยเริ่มมีอาการอย่างน้อย 14 วันหลังจากการฉีดครั้งที่สองในผู้เข้าร่วมที่ไม่เคยติดเชื้อ SARS-CoV-2 มาก่อน
  • วันที่ตัดยอดข้อมูลคือ 26 มีนาคม 2564
ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิศักย์ของวัคซีนในการป้องกันโรคเท่ากับ 93.2% โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 55 รายในกลุ่ม mRNA-1273 และ 744 รายในกลุ่มวัคซีนหลอก
  • ประสิทธิศักย์ในการป้องกันความรุนแรงของโรคเท่ากับ 98.2% โดยมี 2 รายในกลุ่ม mRNA-1273 และ 106 รายในกลุ่มวัคซีนหลอก
  • ประสิทธิศักย์ในการป้องกันการติดเชื้อที่ไม่มีอาการ เริ่ม 14 วันหลังจากการฉีดครั้งที่สองเท่ากับ 63.0% โดยมี 214 รายในกลุ่ม mRNA-1273 และ 498 ในกลุ่มวัคซีนหลอก
  • ประสิทธิศักย์ของวัคซีนมีความสอดคล้องกันในกลุ่มชาติพันธุ์และเชื้อชาติ กลุ่มอายุ และผู้เข้าร่วมที่มีภาวะโรคร่วม
  • ไม่มีการระบุข้อกังวลด้านความปลอดภัย
ข้ออภิปราย  : 

วัคซีน mRNA-1273 ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด19 และความรุนแรงของโรคได้อย่างต่อเนื่องนานกว่า 5 เดือน โดยมีผลการทดสอบความปลอดภัยที่ยอมรับได้ และการป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ

หมายเหตุ:

ข้อจำกัด
1. ในขั้นตอนการออกแบบการทดลองในช่วงต้นปี 2563 ยังไม่ทราบประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของวัคซีน mRNA-1273 จึงส่งผลให้ประชากรหลักบางกลุ่ม เช่น สตรีมีครรภ์ เด็ก และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจึงไม่รวมอยู่ในการทดลอง
2. จากช่วงเวลาที่ทำการทดลองแบบปกปิด การประเมินประสิทธิศักย์ของวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด19 ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 นั้นมีจำกัด

อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  New England Journal of Medicine
21 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

บริษัท Johnson & Johnson ประกาศผลการศึกษาที่แท้จริงในสหรัฐอเมริกา และข้อมูลการทดลองระยะที่ 3 ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 แบบ 1 โดส มากพอสำหรับป้องกันและมีประสิทธิผลยาวนาน

Vaccines   :

แจนเซ่น
หัวข้อวิจัย  :  บริษัท Johnson & Johnson ประกาศผลการศึกษาที่แท้จริงในสหรัฐอเมริกา และข้อมูลการทดลองระยะที่ 3 ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 แบบ 1 โดส มากพอสำหรับป้องกันและมีประสิทธิผลยาวนาน
ชนิดวัคซีน  :  แจนเซ่น
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีน จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน 1 โดส มากพอสำหรับปกป้อง COVID-19 และมีประสิทธิผลที่ยาวนาน
    • 79 % (CI, 77% – 80%) ป้องกันการติดเชื้อและ 81 % (CI, 79% – 84%) การเข้ารักษาในโรงพยาบาล
    • ไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าวัคซีนมีประสิทธิผลที่ลดลงตลอดระยะเวลาการศึกษา
  • การทดลองระยะที่ 3
    • 75 % (CI, 65% -82%) ป้องกันการเกิดอาการรุนแรง/วิกฤต
    • ประสิทธิผล 74 % (CI, 39% – 91%) ป้องกันการเกิดอาการรุนแรง/วิกฤต ในสหรัฐอเมริกา
    • ประสิทธิผล 89 % (CI, 24% – 100%) ป้องกันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล
    • ประสิทธิผล 83 % (CI, 41% – 97%) ป้องกันการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
  • ฉีดบูสเตอร์ ที่ระยะเวลา 2 เดือนสามารถการป้องกัน COVID-19 ได้ถึง 94% ในสหรัฐอเมริกา

    • 100 % (CI, 33% – 100%) ป้องกันการเกิดอาการ COVID-19 ที่รุนแรง/วิกฤต – อย่างน้อย 14 วันหลังการฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย
    • 75% (CI, 55% – 87%) ป้องกันการป่วยมีอาการ (ปานกลางถึงรุนแรง/วิกฤต) จากตัวอย่างทั่วโลก
    • 94 % (CI, 58% – 100%) ป้องกันการป่วยมีอากา (ปานกลางถึงรุนแรง/วิกฤต) จากตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา
  • ฉีดบูสเตอร์เมื่อระยะเวลาหกเดือนโดยพบว่ามีแอนติบอดีเพิ่มขึ้น 12 เท่า
    • ระดับแอนติบอดีเพิ่มขึ้น 9 เท่า เมื่อ 1 สัปดาห์หลังจากบูสเตอร์ และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 12 เท่า เมื่อ 4 สัปดาห์หลังจากบูสเตอร์ อายุไม่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของระดับแอนติบอดี
อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  จอห์นสัน & จอห์นสัน
18 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การตอบสนองของแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อโควิด19 หลังจากวัคซีนเข็มกระตุ้นด่วย Sinovac (CoronaVac) หรือ Pfizer (BNT162b2) ครั้งที่ 3 หลังจากได้รับวัคซีน Sinovac (CoronaVac) แล้ว 2 โดส

Vaccines   :

ซิโนแวค ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การตอบสนองของแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อโควิด19 หลังจากวัคซีนเข็มกระตุ้นด่วย Sinovac (CoronaVac) หรือ Pfizer (BNT162b2) ครั้งที่ 3 หลังจากได้รับวัคซีน Sinovac (CoronaVac) แล้ว 2 โดส
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อเปรียบเทียบแอนติบอดีที่จำเพาะต่อสไปค์ (S), ไกลโคโปรตีน (IgG-S) และโปรตีนนิวคลีโอแคปซิด (IgG-N) ของเชื้อโควิด 19
เพื่อตรวจวัดปฏิสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันทางร่างกายในบุคลากรทางการแพทย์ 68 คน

วิธีการวิจัย  : 

สุ่มเลือกบุคลากรทางการแพทย์ 45 คน ที่ไม่มีการติดเชื้อเจาะเลือดทำการวัดปริมาณและเปรียบเทียบแอนติบอดีที่ทำหน้าที่ในการจับตัวรับบนผิวเซลล์ ต่อสไปค์ (S) ไกลโคโปรตีน (IgG-S) และโปรตีนนิวคลีโอแคปซิด (IgG-N) ของเชื้อโควิด 19 ที่ได้รับวัคซีน Sinovac 2 โดส 1 เดือนหลังจากการฉีดวัคซีน Sinovac เข็มที่ 2 (booster1) และครั้งที่ 2 หลังจากโดสที่สาม (booster2) 1 เดือน โดยใช้ Abbott Architect i2000 (Abbott Laboratories)

ผลการวิจัย  : 

IgG-S ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค จำนวน 3 เข็ม และ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เป็นเข็มที่ 3 ประมาณ 6 เดือนหลังจากการฉีด ซิโนแวคครั้งแรก และปริมาณ IgG-N ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณ IgG-S และ IgG-N ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน ซิโนแวค จำนวน 3 โดส มีค่าสหสัมพันธ์ของ Spearman ที่สูง แต่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ IgG-S และ IgG-N ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 3 มีน้อยมาก IgG‐S สูงขึ้นอย่างมากในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 3 แต่ IgG-N สูงกว่าในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค ถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับทั้งสองกลุ่ม

ข้ออภิปราย  : 

อัพเดทข้อมูล  :  22/11/2564
17 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

ความทนทานของแอนติบอดีที่กระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA-1273 ต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายพันธุ์

Vaccines   :

โมเดอร์นา
หัวข้อวิจัย  :  ความทนทานของแอนติบอดีที่กระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA-1273 ต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายพันธุ์
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาความคงอยู่ของระดับการตอบสนองของระดับภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีชนิดจับ (binding) แอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์เชื้อ (neutralizing antibody) และแอนติบอดีชนิดแย่งจับเอนไซม์ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) จากการฉีดวัคซีน mRNA-1273 (โมเดอร์นา) ต่อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟา), B.1.351 (เบตา), P.1 (แกมมา), B.1.429 (เอปซิลอน), B.1.526 (โลตา), and B.1.617.2 (เดลตา) จนถึงระยะเวลา 7 เดือน

วิธีการวิจัย  : 

ศึกษาความคงอยู่ของระดับการตอบสนองของระดับภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี จากซีรัมของผู้ที่ฉีดวัคซีน mRNA-1273 (โมเดอร์นา) ขนาด 100 ไมโครกรัม 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน

ผลการวิจัย  : 
  • วัคซีนสามารถกระตุ้นให้เกิดระดับภูมิคุ้มกันระดับต่ำต่อไวรัสทุกสายพันธุ์หลังฉีดวัคซีน 1 เข็ม
  • ระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกสายพันธุ์ขึ้นสูงสุดที่ 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แล้วค่อยๆ ลดลงจนถึงวันที่ 209 หลังจากเข็มที่ 1
  • ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์เชื้อที่ตรวจด้วยวิธี pseudovirus assay พบระดับแอนติบอดีสูงที่สุดในไวรัสที่มีการกลายพันธุ์แบบ D614G ระดับแอนติบอดีต่ำที่สุดในไวรัสสายพันธุ์ B.1.351 และสายพันธุ์อื่นๆ ค่าอยู่ระหว่าง 2 สายพันธุ์นี้
ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีน mRNA-1273 (โมเดอร์นา)สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ต่างๆ จนถึงระยะเวลาที่ทำการศึกษา (6 เดือน) หลังฉีดเข็มที่ 2 แม้จะค่อยๆ ลดลงก็ตาม มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมการศึกษาพบระดับแอติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อสายพันธุ์ B.1.351 ที่จุดสิ้นสุดของการศึกษา
  • ระดับแอนติบอดีชนิดจับคงอยู่สูงตลอดระยะเวลาการศึกษาในทุกสายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2
อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  Science Direct Journal
17 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของวัคซีนโมเดอร์นา ไฟเซอร์และแจนเซ่นในผู้ใหญ่ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ภูมิคุ้มกันปกติในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ มีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564

Vaccines   :

แจนเซ่น โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของวัคซีนโมเดอร์นา ไฟเซอร์และแจนเซ่นในผู้ใหญ่ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ภูมิคุ้มกันปกติในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ มีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564
ชนิดวัคซีน  :  แจนเซ่น , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนโมเดอร์นา ไฟเซอร์และแจนเซ่นในการป้องกันการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด19

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบที่มีกลุ่มควบคุม ในผู้ใหญ่ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ภูมิคุ้มกันปกติในรพ. 21 แห่ง จาก 18 รัฐประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ 11 มีนาคมถึง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิผลของวัคซีนหลังได้รับวัคซีนโมเดอร์นาครบเป็น 93% ไฟเซอร์เป็น 88% และหนึ่งเข็มของแจนเซ่นเป็น 77% ตามลำดับ
  • ผู้ที่ได้รับวัคซีนแจนเซ่นพบระดับแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 ต่ำกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA

หมายเหตุ:

วัคซีนป้องกันโควิด19 ยังไม่มีการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันโรคได้

ข้ออภิปราย  : 

อัพเดทข้อมูล  :  09/11/2564
15 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและปกปิดข้อมูลทั้งสองทางระยะที่ 1/2 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันในวัคซีน BBIBP-CorV (ซิโนฟาร์ม) (วัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตาย) ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 18 ปี

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและปกปิดข้อมูลทั้งสองทางระยะที่ 1/2 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันในวัคซีน BBIBP-CorV (ซิโนฟาร์ม) (วัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตาย) ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 18 ปี
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม
จุดประสงค์  : 

เพื่อรายงานข้อมูลฉบับเต็มเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสามารถในการสร้างภูมิของวัคซีนซิโนฟาร์ม ในการศึกษาระยะที่ 1 และ 2 ทำในอาสาสมัครสุขภาพดีที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ในประเทศจีน

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและปกปิดข้อมูลทั้งสองทางระยะที่ 1 และ 2
  • ผู้เข้าร่วมการศึกษา: ผู้ร่วมการศึกษาสุขภาพดีอายุ 3–17 ปี
  • การรักษาที่พิจารณา: วัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 3 เข็ม (ฉีดที่วันที่ 0, 28, และ 56)
  • การรักษาเปรียบเทียบ: น้ำเกลือและสารอัลลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ จำนวน 3 เข็ม (ฉีดที่วันที่ 0, 28, และ 56)
  • ผลที่ต้องการศึกษา:
    • ผลการศึกษาหลัก: ความปลอดภัย
    • ผลการศึกษารอง: ความสามารถในการสร้างภูมิ
ผลการวิจัย  : 
  • ผลการศึกษาหลัก
    • ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ในบริเวณที่ฉีดวัคซีนที่พบมากที่สุดคืออาการปวด
    • ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ทั่วร่างกายที่พบมากที่สุดคืออาการไข้
    • ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ส่วนมากมีความรุนแรงในระดับต่ำถึงปานกลาง
  • ผลการศึกษารอง
    • ค่าไตเตอร์มัธยฐานแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ในวันที่ 28 หลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สอง

      • 105.3-180.2 ในอาสาสมัครกลุ่มอายุ 3–5 ปี
      • 84.1-168.6 ในอาสาสมัครกลุ่มอายุ 6–12 ปี
      • 88.0-155.7 ในอาสาสมัครกลุ่มอายุ 13–17 ปี
    • ค่าไตเตอร์มัธยฐานแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ในวันที่ 28 หลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สาม

      • 143.5 – 224.4 ในอาสาสมัครกลุ่มอายุ 3–5 ปี
      • 127 – 184.8 ในอาสาสมัครกลุ่มอายุ 6–12 ปี
      • 150.7 – 199 ในอาสาสมัครกลุ่มอายุ 13–17 ปี
ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีนซิโนฟาร์ม มีความปลอดภัยและผู้รับวัคซีนสามารถทนต่อผลข้างเคียงได้ดีในทุกขนาดของวัคซีนในกลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษาที่อายุ 3-17 ปี
  • วัคซีนซิโนฟาร์ม 2 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบน้ำ ต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ดี
  • ข้อจำกัดของการศึกษา
    • เวลาติดตามการศึกษาสั้น (84 วัน)
    • มีความหลากหลายของเชื้อชาติและชาติพันธ์ุที่เข้าร่วมการศึกษาน้อย
    • ไม่ได้มีการศึกษาถึงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแบบเซลล์
    • ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิศักย์ของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อกลายพันธุ์
อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  The Lancet Journal
15 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

ความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV) ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม แบบปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง ระยะที่ 1/2

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม
หัวข้อวิจัย  :  ความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV) ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม แบบปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง ระยะที่ 1/2
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีน BBIBP-CorV ในผู้เข้าร่วมอายุ 3-17 ปี

วิธีการวิจัย  : 
  • การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม แบบปกปิดสองทาง ระยะที่ 1/2
  • แบ่งชั้นผู้เข้าร่วมตามกลุ่มอายุ (3–5, 6–12 หรือ 13–17 ปี) และกลุ่มขนาดยา
  • สุ่มโดยใช้การสุ่มกลุ่มแบบแยกตามลักษณะที่สำคัญ (บล็อกขนาด 8) เพื่อรับวัคซีนจำนวน 3 เข็ม ขนาด 2, 4, หรือ 8 ไมโครกรัม หรือยากลุ่มควบคุม (1:1:1:1) ห่างกัน 28 วัน
ผลการวิจัย  : 
  • อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดที่พบบ่อยที่สุด
    • ปวดบริเวณที่ฉีด: 9.1% ของผู้เข้าร่วมในทุกกลุ่มอายุที่ได้รับวัคซีน; 7.9% ของกลุ่มอายุ 13-17 ปีที่ได้รับวัคซีน)
      และ 1.2% ของกลุ่มอายุ 6-12 ปี ในกลุ่มควบคุม
  • อาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นระบบที่พบบ่อยที่สุด
    • มีไข้: 12.7% ของกลุ่มที่ได้รับวัคซีน และ 7.1% ของกลุ่มควบคุม ในกลุ่มอายุ 3-5 ปี; 5.2% ของกลุ่มที่ได้รับวัคซีน และ 1.2% ของกลุ่มควบคุม ในกลุ่มอายุ 6-12 ปี; 10.3% ของกลุ่มที่ได้รับวัคซีน และ 9.5%ของกลุ่มควบคุม ในกลุ่มอายุ 13-17 ปี)
  • อาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
  • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน (GMT) ของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2
    • อยู่ในช่วง 105.3-180.2 ในกลุ่มอายุ 3-5 ปี, 84.1-168.6 ในกลุ่มอายุ 6-12 ปี และ 88.0-155.7 ในกลุ่มอายุ 13-17 ปี ในวันที่ 28 หลังการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2
    • อยู่ในช่วง 143.5-224.4 ในกลุ่ม 3-5 ปี, 127-184.8 ในกลุ่มอายุ 6-12 ปี และ 150.7-199 ในกลุ่มอายุ 13-17 ปี ในวันที่ 28 หลังการฉีดวัคซีนครั้งที่ 3
ข้ออภิปราย  : 
  • การให้วัคซีนเชื้อตาย BBIBP-CorV จำนวน 3 เข็ม มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่ยอมรับได้ และสามารถกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโรค SARS-CoV-2 ในผู้เข้าร่วมที่อายุน้อยกว่า 18 ปี
  • อาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นอย่างเด่นชัดหลังการฉีดวัคซีนครั้งแรก และมีความถี่ใกล้เคียงกันในผู้เข้าร่วมอายุ 3-17 ปี และผู้เข้าร่วมที่มีอายุ 18-59 ปี หรือ 60 ปีขึ้นไป
  • อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยที่สุดคืออาการปวดและมีไข้ ซึ่งเกิดขึ้นชั่วคราวและหายได้ภายในไม่กี่วัน

หมายเหตุ:

ข้อจำกัด

1. ระยะเวลาการติดตามสั้น (84 วัน) ข้อมูลด้านความปลอดภัย
2. ผู้เข้าร่วมมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์จำกัด
3. ภูมิคุ้มกันของเซลล์ที่เกิดจาก BBIBP-CorV โดยเฉพาะการตอบสนองของ T-cell ไม่ได้รับการประเมิน
4. ไม่มีข้อมูลสำหรับประสิทธิภาพการป้องกันแบบข้ามกลุ่มของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ที่เกิดขึ้นในกลุ่มประชากรตามรุ่นอายุ 3-17 ปี เทียบกับสายพันธุ์ที่อุบัติใหม่ (เช่น B.1.1.7 และ B.1.617)
5. แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ซึ่งกระตุ้นโดย BBIBP-CorV สามารถยับยั้งการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในการเพาะเลี้ยงเซลล์ แต่ไม่ทราบประสิทธิภาพในการป้องกันในคนที่อายุน้อยกว่า 18 ปี

อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  The Lancet Journal
5 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การฉีดวัคซีนไขว้ระหว่างวัคซีนซิโนแวค และวัคซีนแคนซิโน

Vaccines   :

ซิโนแวค แคนซิโน
หัวข้อวิจัย  :  การฉีดวัคซีนไขว้ระหว่างวัคซีนซิโนแวค และวัคซีนแคนซิโน
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , แคนซิโน
จุดประสงค์  : 

เพื่อรายงานความปลอดภัยและระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนแบบไขว้ระหว่างวัคซีน SARS-CoV-2 ชนิดเชื้อตายซิโนแวค และ วัคซีนชนิดใช้อะดิโนไวรัส ชนิดที่ 5 เป็นตัวพา – วัคซีนแคนซิโน

วิธีการวิจัย  : 
  • เป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและอำพรางผู้สังเกตการณ์ ในผู้ใหญ่สุขภาพดีอายุ 18-59 ปีที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคแล้วหนึ่งหรือสองเข็ม
  • การรักษาที่พิจารณา: การได้วัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนแคนซิโนหรือซิโนแวค
  • ผลที่ต้องการศึกษา: ความปลอดภัยและระดับภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
ผลการวิจัย  : 
  • ความปลอดภัย

    • ในกลุ่มที่ได้วัคซีนสองเข็มและสามเข็ม พบว่าในกลุ่มที่ได้วัคซีนแคนซิโน เป็นเข็มกระตุ้นเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์มากกว่าในกลุ่มที่ได้ซิโนแวค เป็นเข็มกระตุ้นอย่างมีนัยสำคัญ
    • ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
  • ระดับภูมิคุ้มกันในกลุ่มที่ได้วัคซีนแคนซิโนเป็นเข็มกระตุ้นมีระดับของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์แบบเชื้อเป็น ที่สูงกว่าได้วัคซีนกระตุ้นเป็นซิโนแวค
ข้ออภิปราย  : 

การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นวัคซีนแคนซิโนหลังจากได้วัคซีนซิโนแวค มีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าการกระตุ้นด้วยวัคซีนซิโนแวคอย่างมีนัยสำคัญ

อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
แหล่งที่มา  :  medRxiv - The Preprint Server for Health Sciences
3 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การตอบสนองของภูมิคุ้มกันจากการได้วัคซีน SARS-CoV-2 แบบไขว้: วัคซีนซิโนแวคตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

Vaccines   :

ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
หัวข้อวิจัย  :  การตอบสนองของภูมิคุ้มกันจากการได้วัคซีน SARS-CoV-2 แบบไขว้: วัคซีนซิโนแวคตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า (ไทย)
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้ฉีดวัคซีนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (ห่างกัน 4 อาทิตย์)

วิธีการวิจัย  : 
  • ผู้เข้าร่วมการศึกษา: ผู้ฉีดวัคซีนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (ห่างกัน 4 อาทิตย์) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
  • ผลที่ต้องการศึกษา: แอนติบอดีชนิด anti-S ต่อเชื้อ SARS-CoV-2
ผลการวิจัย  : 
  • ค่าเฉลี่ยระดับแอนดิบอดีในผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า (797 U/mL; 95% CI: 598.7-1062) มีระดับใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม (818 U/mL; 95% CI: 662.5-1010) โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.49)
  • ค่าเฉลี่ยระดับแอนติบอดีในผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มมีค่า 96.4 U/mL (95% CI: 76.1-122.1) ซึ่งไม่ได้มากกว่าระดับที่พบในผู้เคยติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ (มีค่า 78 U/mL (95% CI: 52.8-115.8) (p=0.68) )
ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ด้วยวัคซีนซิโนแวคตามด้วยเเอสตร้าเซนเนก้าทำให้เกิดการตอบสนองของแอนติบอดีที่ดีกว่าการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มและใกล้เคียงกับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม

อัพเดทข้อมูล  :  18/02/2565
แหล่งที่มา  :  The Preprint MedRXiv
2 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

ความคงอยู่ของระดับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิด humoral และ cellular หลังจากได้รับวัคซีน Ad26.COV2.S (แจนเซ่น)

Vaccines   :

แจนเซ่น
หัวข้อวิจัย  :  ความคงอยู่ของระดับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิด humoral และ cellular หลังจากได้รับวัคซีน Ad26.COV2.S (แจนเซ่น)
ชนิดวัคซีน  :  แจนเซ่น
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลความคงอยู่ของระดับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแบบน้ำและแบบเซลล์ในช่วง 8 เดือน หลังจากได้รับวัคซีน Ad26.COV2.S (แจนเซ่น)

วิธีการวิจัย  : 
  • การรักษาที่พิจารณา: วัคซีน Ad26.COV2.S 1 หรือสองเข็ม
  • การรักษาเปรียบเทียบ: วัคซีนหลอก
  • ผลที่ต้องการศึกษา:
    • ระดับแอนตีบอดิและ การตอบสนองของ T-cell
    • Neutralizing antibody ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิม
      และเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ที่กลายพันธุ์
ผลการวิจัย  : 
  • ค่าไตเตอร์มัธยฐานของแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังการติดเชื้อต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม
    1.1 645 ที่วันที่ 29 หลังฉีดวัคซีน
    1.2 1306 ที่วันที่ 239 หลังฉีดวัคซีน
  • การตอบสนองของ T-cell
    • ระดับ median CD8+ T-cell response มีค่า 0.0545% ที่วันที่ 57 หลังฉีดวัคซีน และ 0.0734% ที่วันที่ 239 หลังฉีดวัคซีน
    • ระดับ median CD4+ T-cell response มีค่า 0.0435% ที่วันที่ 57 หลังฉีดวัคซีน และ 0.0176% ที่วันที่ 239 หลังฉีดวัคซีน
  • ค่ามัธยฐานของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของอนุภาคไวรัสเทียม (ที่วันที่ 29 / ที่วันที่ 239 หลังฉีดวัคซีน ตามลำดับ)
    • W A1/2020: 272/184
    • D614G: 167/158
    • B.1.1.7 (อัลฟา): 60/147
    • B.1.617.1 (แคปปา): 49/171
    • B.1.617.2 (เดลตา): 39/107
    • P.1 (แกมมา): 28/129
    • B.1.429 (เอปไซลอน) : 27/87
    • B.1.351 (บีตา): <20/62
ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีน Ad26.COV2.S ทำให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันทั้งแบบน้ำ และ แบบเซลล์ที่คงอยู่ได้อย่างน้อย 8 เดือนหลังฉีดวัคซีน โดยมีระดับภูมิคุ้มกันลดลงเพียงเล็กน้อย
  • พบว่าระดับ neutralizing antibody ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 กลายพันธุ์ มีระดับที่เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา (ที่วันที่ 29 เทียบกับ ที่วันที่ 239 หลังฉีดวัคซีน)
อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  New England Journal Medicine
2 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด19 ชนิดเชื้อตายในประเทศชิลี

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด19 ชนิดเชื้อตายในประเทศชิลี
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด19 ชนิดเชื้อตายในประเทศชิลี

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบสังเกต และติดตาม ระดับประเทศในประเทศชิลี
ทำการศึกษาในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปที่มีข้อมูลในฐานข้อมูลระบบสาธารณสุขระดับประเทศตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ ถึง 1 พฤษภาคม 2564
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนชนิดเชื้อตาย (CoronaVac)

ผลการวิจัย  : 

ผู้เข้าเกณฑ์การศึกษาวิจัยจำนวน 10,187,720 คน โดยประสิทธิผลของวัคซีนโควิดต่อการเป็นโรคโควิด19 ที่ยืนยันการวินิจฉัย 65.9% ต่อการนอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤติ (ไอซียู) 90.3% และต่อการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด19 เป็น 86.3%

ข้ออภิปราย  : 

วัคซีนโควิด19 ชนิดเชื้อตายมีประสิทธิผลในการป้องกันการเกิดโรคโควิด19 ที่มีอาการรุนแรง และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด19

หมายเหตุ:

  • เป็นการศึกษาแบบสังเกต และติดตาม ที่มีระยะเวลาการติดตามการศึกษาค่อนข้างสั้น
  • จากการเฝ้าติดตามสายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 พบสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variants of concern) 2 สายพันธุ์ ได้แก่สายพันธุ์ แกมมา (P.1) และอัลฟา (B.1.1.7.) แต่ในการศึกษานี้ไม่มีข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีนชนิดเชื้อตายต่อสายพันธุ์ดังกล่าว
อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
1 กันยายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

Risk factors and disease profile of post-vaccination SARS-CoV-2 infection in UK users of the COVID Symptom Study app: a prospective, community-based, nested,case-control study

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  Risk factors and disease profile of post-vaccination SARS-CoV-2 infection in UK users of the COVID Symptom Study app: a prospective, community-based, nested,case-control study
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 
  • เพื่อบรรยายปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 อย่างน้อย 14 วันหลังฉีดวัคซีนเข็มแรก หรืออย่างน้อย 7 วันหลังฉัดวัคซีนเข็มที่ 2
  • เพื่อประมาณระยะเวลาการเจ็บป่วย ความรุนแรง ลักษณะอาการป่วยในผู้ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ตามหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 หรือ 2 เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาชนิดการศึกษาชนิดติดตามในชุมชนที่มีกลุ่มควบคุมซ้อนใน โดยใช้อัตราส่วนกลุ่มผู้ป่วยต่อกลุ่มควบคุม 1:1
  • ใช้ข้อมูลจากผู้ใหญ่อายุ ≥ 18 ปีที่ใช้งานแอพพลิเคชัน COVID Symptom Study ในสหราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2563 ถึง 4 กรกฎาคม 2564
  • บรรยายปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 อย่างน้อย 14 วันหลังฉีดวัคซีนเข็มแรก หรืออย่างน้อย 7 วันหลังฉัดวัคซีนเข็มที่ 2
  • ประมาณระยะเวลาการเจ็บป่วย ความรุนแรง ลักษณะอาการป่วยในผู้ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ตามหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 หรือ 2 เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
ผลการวิจัย  : 
  • กลุ่มผู้ป่วย 1 = 6,030 คน (คิดเป็น 0.5%) จากผู้ใช้งานแอพลิเคชันทั้งหมด 1,240,009 คน
  • กลุ่มผู้ป่วย 2 = 2,370 คน (คิดเป็น 0.2%) จากผู้ใช้งานแอพลิเคชันทั้งหมด 971,504 คน
  • ค่าออดของการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ตามหลังการฉีดวัคซีนโรคโควิด19ตามหลังวัคซีนเข็มที่ 1 เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยเปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร และค่าออดลดลงในผู้ที่ไม่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ป่วยโรคโควิด19 หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มมีโอกาสที่อาการของโรคจะเป็นนานเกิน 28 วัน มีอาการของโรคโควิด19 มากกว่า 5 อาการ และ โอกาสที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคโควิด19 ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน
  • ผู้ป่วยโรคโควิด19 หลังได้รับวัคซีนมีอาการน้อยกว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน
  • ผู้ป่วยโรคโควิด19 หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มมีโอกาสที่จะพบการติดเชื้อ SAR-CoV-2 โดยไม่มีอาการ ได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน
ข้ออภิปราย  : 
  • โอกาสการเกิดภาวะ ลองโควิด (long COVID-19) ลดลงในผู้ที่เคยได้รับวัคซีน 2 เข็ม
  • การศึกษานี้อาจะสนับสนุนว่าควรมีการเฝ้าระวังการลดหย่อนมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในบางพื้นที่ และในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยเปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร แม้จะได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้วก็ตาม

หมายเหตุ :

เป็นการศึกษาแบบสังเกตเท่านั้น

อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
แหล่งที่มา  :  The Lancet Journal
30 สิงหาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศรับรองวัคซีนโควิดไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer-BioNTech) หรือชื่อการค้าโคเมอร์นาตี (Comirnaty)

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศรับรองวัคซีนโควิดไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer-BioNTech) หรือชื่อการค้าโคเมอร์นาตี (Comirnaty)
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

*อัพเดตวันที่ 20 ตุลาคม 64: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศรับรองการฉีดกระตุ้นเข็มบูสเตอร์แก่บุคคลที่เข้าเกณฑ์ สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา หรือแจนเซ่น อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

**โปรดอ่านที่ลิ้งค์อัพเดตเพิ่มเติม หรือเลือกวันที่ 21 ตุลาคม 64 ในหน้าเว็บไซต์


ข้อบ่งใช้:

  1. วัคซีนได้รับการรับรองสำหรับเป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในบุคคลที่อายุ ≥ 16 ปี
  2. วัคซีนได้รับการรับรองแบบฉุกเฉินสำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ในกรณีดังต่อไปนี้:
    1. บุคคลอายุ 12-15 ปี
    2. สำหรับฉีดกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ในบุคคลที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องบางกรณี
    3. สำหรับฉีดเป็นเข็มกระตุ้น 1 เข็ม ในบุคคลอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
    4. สำหรับฉีดเป็นเข็มกระตุ้น 1 เข็ม ในบุคคลอายุ 18 ถึง 64 ปีที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด19 อย่างรุนแรง
    5. สำหรับฉีดเป็นเข็มกระตุ้น 1 เข็ม ในบุคคลอายุ 18 ถึง 64 ปีที่มีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อ SARS-CoV-2 บ่อยๆ ในสถานศึกษาหรือสถานที่ทำงาน

จำนวนโดส: 2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม: 3 สัปดาห์

ข้อห้าม: แพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีนโคเมอร์นาตีรุนแรง

ข้อควรระวัง:

  1. ข้อมูลหลังการใช้วัคซีนพบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ พบบ่อยภายใน 7 วันหลังได้วัคซีน 2 เข็ม
  2. การเป็นลมอาจเกิดขึ้นได้หลังการฉีดวัคซีน รวมถึงการฉีดวัคซีน COMIRNATY ระวังการบาดเจ็บจากการเป็นลม
  3. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการศึกษาทางคลินิก (≥10%)
    1. ผู้ที่อายุ 16-55 ปี ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด (88.6%), อ่อนเพลีย (70.1%), ปวดศีรษะ (64.9%), ปวดกล้ามเนื้อ (45.5%), หนาวสั่น (41.5%), ปวดข้อ (27.5%), ไข้ (17.8%), บวมบริเวณที่ฉีด (10.6%)
    2. ผู้ที่อายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด (78.2%), อ่อนเพลีย (56.9%), ปวดศีรษะ (49.9%), ปวดกล้ามเนื้อ (32.5%), หนาวสั่น (24.8%), ปวดข้อ (21.5%), บวมบริเวณที่ฉีด (11.8%), ไข้ (11.8%), และแดงบริเวณที่ฉีด (10.4%)

หมายเหตุ: ยังไม่มีข้อมูลสำหรับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ แล้วตามด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ชนิดอื่น หากฉีดวัคซีนนี้เป็นเข็มแรก ควรฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นชนิดเดียวกัน

 

อัพเดทข้อมูล  :  24/10/2564
28 สิงหาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ความคืบหน้าการทดสอบวัคซีน ChulaCov 19 ระยะที่ 1

Vaccines   :

ChulaCov19
หัวข้อวิจัย  :  ความคืบหน้าการทดสอบวัคซีน ChulaCov 19 ระยะที่ 1
ชนิดวัคซีน  :  ChulaCov19
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลความปลอดภัย ความทนทาน การกระตุ้นภูมิคุ้มกันของโดสที่ค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้นของวัคซีน ChulaCov19

วิธีการวิจัย  : 

การรักษาที่พิจารณา: โดสที่ต่างกันที่ 10 µg, 25 µg, and 50 µg ของวัคซีน ChulaCov19 ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 21 วันในกลุ่มผู้ใหญ่สุขภาพดี (18-55 ปี) และ ผู้สูงอายุ (56-75 ปี)

ผลการวิจัย  : 

– อาสาสมัครมีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด-19 ดี กระตุ้นแอนติบอดีได้สูงมากรวมถึงสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดที-เซลล์ ซึ่งช่วยกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสที่อยู่ในเซลล์ของผู้ติดเชื้อได้
– วัคซีนสามารถป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม (อู่ฮั่น) รวมถึงเชื้อกลายพันธุ์ทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ แอลฟา (อังกฤษ) และป้องกัน เบตา (แอฟริกาใต้) แกมมา (บราซิล) และเดลตา (อินเดีย)
– จากการติดตามอาการในกลุ่มอาสาสมัครหลังฉีดวัคซีนครบ 7 วันพบว่ามีอาการข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนใหญ่เกิดอาการขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด เพลีย ไข้ หนาวสั่นและหายได้เองภายใน 1-3 วัน

ข้ออภิปราย  : 
  • สามารถจัดเก็บในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นาน 3 เดือนและจัดเก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ ทำให้เก็บรักษาได้ง่ายมากกว่าวัคซีนชนิด mRNA ยี่ห้ออื่น
  • ผลการทดสอบในหนูทดลองผ่านเกณฑ์ดีมาก สามารถป้องกันอาการป่วยและยับยั้งไม่ให้เชื้อโควิด-19 เข้าสู่กระแสเลือด ลดจำนวนเชื้อไวรัสในจมูกและปอดรวมทั้งมีความปลอดภัยจากการทดสอบความเป็นพิษ
  • สามารถผลิตได้เร็ว เนื่องจากวัคซีนชนิด mRNA ไม่จำเป็นต้องเพาะเลี้ยงเชื้อเพียงทราบสายพันธุ์ของเชื้อก็สามารถผลิตวัคซีนได้ ไม่ต้องใช้โรงงานขนาดใหญ่และหากเกิดเชื้อกลายพันธุ์ในอนาคตจะสามารถสังเคราะห์วัคซีนรุ่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  ลิงค์
27 สิงหาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การลดลงของการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในประเทศกาตาร์ ของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์)

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การลดลงของการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในประเทศกาตาร์ ของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์)
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 และ การเกิดโรคที่รุนแรง วิกฤติ หรือการเสียชีวิตจากโรคโควิด19

วิธีการวิจัย  : 
  • การศึกษาที่มีกลุ่มควบคุมผลตรวจลบแบบจับคู่
  • ผู้เข้าร่วมการศึกษา: ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศกาตาร์
  • ผลที่ต้องการศึกษา: ประสิทธิผลของวัคซีนต่อการเกิดการติดเชื้อ SARS-CoV-2 และ ต่อการเกิดโรคที่รุนแรง วิกฤติหรือ เสียชีวิตจากโรคโควิด19
ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิผลของวัคซีนต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ)
    • 0% ในสองอาทิตย์แรกหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 1
    • 36.5% (95% CI: 33.1-39.8) ในอาทิตย์ที่สามหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 1
    • สูงสุดที่ 72.1% (95% CI: 70.9- 73.2) ใน 5 อาทิตย์แรกหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สอง
    • ลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่อาทิตย์ที่ 15 หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สอง
    • 0% หลังจาก 20 อาทิตย์หลังฉีดวัคซีนเข็มที่สอง
  • ประสิทธิผลต่อการติดเชื้อที่มีอาการสูงกว่าต่อการติดเชื้อที่ไม่มีอาการ แต่ประสิทธิผลลดลงตามเวลาในลักษณะคล้ายกัน
  • ประสิทธิผลต่อการเกิดโรคที่รุงแรง วิกฤติหรือเสียชีวิต
    • 67.7% (95% CI: 59.1-74.7) ในอาทิตย์ที่สามหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 1
    • สูงสุดที่ 95.4% (95% CI: 93.4-96.9) ใน 5 อาทิตย์แรกหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สอง
    • ไม่มีหลักฐานว่ามีการลดลงของประสิทธิผลตามเวลา
ข้ออภิปราย  : 

การป้องกันการติดเชื้อของวัคซีน BNT162b2 ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากขึ้นถึงระดับสูงสุดหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สองแต่ยังสามารถป้องกันการนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวีตจากโรคโควิด 19 ได้อย่างน้อย 6 เดือนหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สอง

อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
แหล่งที่มา  :  medRxiv - The Preprint Server for Health Sciences
23 สิงหาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริการับรองวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิดแรก

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริการับรองวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิดแรก
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

1. องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีวัคซีนโควิดไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer-BioNTech) หรือชื่อการค้าโคเมอร์นาตี (Comirnaty) เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคโควิด19 ในผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
2. วัคซีนโคเมอร์นาตี ขึ้นบัญชีเป็นวัคซีนสำหรับการใช้งานฉุกเฉินสำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ถึง 15 ปี และสำหรับฉีดเข็มที่ 3 ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำบางกลุ่ม
3. วัคซีนโคเมอร์นาตีมี messenger RNA (mRNA)เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายสามารถสร้างโปรตีนที่เหมือนกับส่วนประกอบโปรตีนของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด19 ได้ mRNA ในวัคซีนโคเมอร์นาตีจะอยู่ในร่างกายช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น จะไม่ฝังตัวหรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมของผู้ได้รับวัคซีน
4. จากการศึกษาวิจัย วัคซีนโคเมอร์นาตีมีประสิทธิศักย์ในการป้องกันโรคโควิด19 91%
5. การศึกษาความปลอดภัยของวัคซีนในคนที่ได้รับวัคซีนประมาณ 22,000 คนและ ยาหลอกประมาณ 22,000 คน
6. ผลข้างเคียงของวัคซีนที่รายงานจากการศึกษาวิจัยที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และไข้หนาวสั่น
7. ข้อมูลความปลอดภัยหลังขึ้นบัญชีวัคซีน พบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ พบมากขึ้นในเพศชายอายุต่ำกว่า 40 ปีเมื่อเทียบกับเพศหญิง หรือเพศชายที่อายุมากกว่า พบได้มากที่สุดในเพศชายอายุ 12 ถึง 17 ปี จากข้อมูลติดตามระยะสั้นพบว่า ส่วนใหญ่อาการหายเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม บางคนจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาใกล้ชิด โดยยังไม่มีข้อมูลติดตามระยะยาว โดยข้อมูลการใช้ยาของวัคซีนโคเมอร์นาตีมีระบุถึงความเสี่ยงนี้แล้ว
8. องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริการะบุให้บริษัททำการศึกษาเพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบตามหลังการฉีดวัคซีนชนิดนี้
9. บริษัทจะทำการศึกษาเพื่อประเมินความปลอดภัยของวัคซีนต่อหญิงตั้งครรภ์และบุตรหากฉีดในผู้ที่กำลังคั้งครรภ์เพิ่มเติม

อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  U.S. FDA
12 สิงหาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวคในผู้สูงอายุ ศึกษาในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด19 สายพันธุ์แกมมาในประเทศบราซิล: การศึกษาแบบกลุ่มควบคุมผลตรวจลบ

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวคในผู้สูงอายุ ศึกษาในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด19 สายพันธุ์แกมมาในประเทศบราซิล: การศึกษาแบบกลุ่มควบคุมผลตรวจลบ
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

เพื่อประมาณประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวค ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ในการป้องกันการเกิดโรคโควิด 19 ที่มีอาการในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุในรัฐเซาเปาโล ประเทศบราซิล ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด19 สายพันธุ์แกมมา

วิธีการวิจัย  : 
  • เป็นการศึกษาแบบกลุ่มควบคุมผลตรวจลบในประชากรอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปที่มีอาการสงสัยโรคโควิด19
  • การรักษาที่พิจารณา: วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม
  • ผลที่ต้องการศึกษา: ประสิทธิผลของวัคซีนต่อในการป้องกันโรคโควิด19 ที่มีอาการ, การนอนโรงพยาบาลจากโรคโควิด19 และการเสียชีวิตจากโรคโควิด19
ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด 19 ที่มีอาการหลังจากได้วัคซีนเข็มที่สอง: 46.8 %
  • ประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากโรคโควิด 19 หลังจากได้วัคซีนเข็มที่สอง: 55.5 %
  • ประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันการเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 หลังจากได้วัคซีนเข็มที่สอง: 61.2 %
  • ประสิทธิผลของวัคซีนลดลงตามอายุที่มากขึ้น
ข้ออภิปราย  : 

อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
แหล่งที่มา  :  British Medical Journal
11 สิงหาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประเมินผลการใช้วัคซีน SARS-CoV-2 mRNA-1273 (โมเดอร์นา) ในวัยรุ่น

Vaccines   :

โมเดอร์นา
หัวข้อวิจัย  :  ประเมินผลการใช้วัคซีน SARS-CoV-2 mRNA-1273 (โมเดอร์นา) ในวัยรุ่น
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลความปลอดภัย การสร้างภูมิคุ้มกันและประสิทธิศักย์ของวัคซีน SARS-CoV-2 mRNA-1273 ในกลุ่มวัยรุ่น

วิธีการวิจัย  : 
  • การทดลองทางคลินิกระยะที่ 2-3 แบบที่มีกลุ่มควบคุม อำพรางผู้สังเกตการณ์ เทียบกับวัคซีนหลอก
  • ผู้เข้าร่วมการศึกษา: วัยรุ่นเพศชายและหญิงอายุ 12-17 ปีที่มีสุขภาพดี
  • การรักษาที่พิจารณา: วัคซีน mRNA-1273 สองเข็ม ปริมาณเข็มละ 100 ไมโครกรัม โดยฉีดห่างกัน 28 วัน
  • การรักษาเปรียบเทียบ: น้ำเกลือสองเข็ม ฉีดห่างกัน 28 วัน
  • ผลการศึกษาหลัก: เพื่อทำการประเมินความปลอดภัยของวัคซีน mRNA-1273 ในวัยรุ่น และเปรียบเทียบการตอบสนองของภูมิคุ้มกันระหว่างวัยรุ่นอายุ 12-17 ปีเทียบกับวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 18-25 ปี (ที่เคยทำการศึกษา ระยะที่ 3 มาก่อนแล้ว)
ผลการวิจัย  : 
  • ในกลุ่ม mRNA-1273 ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์(ที่คาดเดาได้)ที่พบบ่อยที่สุดหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองคือ
    – อาการปวดบริเวณที่ฉีด (ใน 93.1% and 92.4%, ของวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองตามลำดับ)
    – อาการปวดศีรษะ (ใน 44.6% and 70.2%, ของวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองตามลำดับ)
    – อาการอ่อนเพลีย (ใน 47.9% and 67.8%, ของวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองตามลำดับ)
  • ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์รุนแรงในกลุ่ม mRNA-1273 ในการศึกษานี้
  • สัดส่วนของค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของอนุภาคไวรัสเทียม ในวัยรุ่นเทียบกับกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นเท่ากับ 1.08 (95% CI, 0.94 to 1.24)
  • ความแตกต่างของการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในวัยรุ่นเทียบกับกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นเท่ากับ 0.2%  (95% CI, −1.8 to 2.4) (ไม่ด้อยกว่ากัน)
ข้ออภิปราย  : 

การสร้างภูมิคุ้มกันโดยวัคซีน mRNA-1273 ในวัยรุ่นไม่ด้อยไปกว่าในกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นและมีความปลอดภัยคล้ายคลึงกัน

อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  New England Journal of Medicine
5 สิงหาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ผลข้างเคียงและความเข้าใจหลังจากการฉีดวัคซีน ซิโนฟาร์ม

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม
หัวข้อวิจัย  :  ผลข้างเคียงและความเข้าใจหลังจากการฉีดวัคซีน ซิโนฟาร์ม
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาผลข้างเคียงหลังจากการฉีดวัคซีน ซิโนฟาร์ม

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มประชากรในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีรายงานข้อมูลประชากร การฉีดวัคซีน และการตอบสนองของผู้ที่ไม่เต็มใจรับวัคซีนโควิด-19

ผลการวิจัย  : 
  • ผลข้างเคียงหลังฉีด ซิโนฟาร์ม ครั้งแรก พบมี อาการปวด เหนื่อยล้า และปวดศีรษะ ได้บ่อยในผู้เข้าร่วมที่มีอายุ ≤ 49 ปี เทียบกับ > 49 ปี ขณะที่อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน อ่อนเพลีย ง่วง ปวดศีรษะ และกดเจ็บ เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดหลังที่ฉีดเข็มที่สอง
  • ในทั้งสองกลุ่มพบว่ามี ผลข้างเคียงทั้งหมดสำหรับการฉีดทังสองครั้งพบมากในกลุ่มผู้ที่มีอายุ ≤49 ปี ผลข้างเคียงพบได้บ่อยในเพศหญิงเมื่อเทียบกับเพศชาย
  • สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ไม่ต้องการรับวัคซีนคือวัคซีนไม่ได้ผล
ข้ออภิปราย  : 

ผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนในครั้งแรกและครั้งที่สองนั้นพบว่าไม่รุนแรงและสามารถคาดการณ์ได้ และไม่มีกรณีที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล ข้อมูลนี้อาจจะจะช่วยลดความลังเลของการรับวัคซีน

อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  International Journal of Infectious Diseases
26 กรกฎาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาแบบสังเกตการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและปฏิกิริยาตอบสนองหลังการฉีดวัคซีนต่างชนิด viral vector ต่อด้วย mRNA

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาแบบสังเกตการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและปฏิกิริยาตอบสนองหลังการฉีดวัคซีนต่างชนิด viral vector ต่อด้วย mRNA
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อเปรียบเทียบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบแอนติบอดีและเซลล์เม็ดเลือดขาวT-cells ชนิด CD4+และ CD8+ หลังการฉีดวัคซีนต่างชนิด (viral vector ต่อด้วย mRNA) ที่ 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบสังเกต ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ภูมิคุ้มกันปกติ จำนวน 216 คน โดย 96 คนฉีด viral vector ตามด้วย mRNA 55 คนฉีด viral vector 2 เข็ม และ 62 คนฉีด mRNA 2 เข็ม โดยเปรียบเทียบระดับแอนติบอดีต่อโปรตีนหนาม ระดับการตอบสนองเซลล์เม็ดเลือดขาว T-cells CD4+ และ CD8+

ผลการวิจัย  : 

กลุ่มที่ฉีด viral vector ต่อด้วย mRNAสามารถกระตุ้นระดับแอนติบอดีต่อโปรตีนหนาม ระดับเปอร์เซ็นการยับยั้งไวรัสของแอนติบอดี และระดับการตอบสนองเซลล์เม็ดเลือดขาว T-cells CD4+ เมื่อกระตุ้นด้วยโปรตีนหนาม ได้มากกว่ากลุ่มที่ฉีด viral vector 2 เช็ม และพอๆกับกลุ่มที่ฉีดวัคซีน mRNA 2 เข็ม

ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีน viral vector ต่อด้วย mRNA สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งแบบแอนติบอดีและแบบเซลล์ ได้ดี

หมายเหตุ:

จำเป็นต้องมีการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการเกิดโรคโควิด19 ได้ต่อไป

อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  Nature Medicine
24 มิถุนายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีน โคเมอร์นาตี ภายใต้การอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีน โคเมอร์นาตี ภายใต้การอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19)

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

3 สัปดาห์

ข้อห้าม

ห้ามใช้โคเมอร์เนตีในผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีน

ข้อควรระวัง

1. ภาวะภูมิไวเกินและการแพ้
2. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
3. อาการที่เป็นผลจากความวิตกกังวล
4. ความเจ็บป่วยที่กำลังเป็นอยู่
5. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
24 มิถุนายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การตอบสนองทางซีรั่มต่อ mRNA และวัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตาย ในบุคลากรทางการแพทย์ในฮ่องกง: ผลการวิจัยเบื้องต้น

Vaccines   :

ซิโนแวค ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การตอบสนองทางซีรั่มต่อ mRNA และวัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตาย ในบุคลากรทางการแพทย์ในฮ่องกง: ผลการวิจัยเบื้องต้น
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อวัดภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลิน M (IgM) อิมมูโนโกลบูลิน G (IgG) แอนติบอดีทั้งหมดและแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์

วิธีการวิจัย  : 

วัดภูมิคุ้มกันหลังจากฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ด้วยชุดเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ 3 วิธีโดยผู้ที่เข้าร่วมต้องไม่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ยืนยันว่าเคยมีการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019

ผลการวิจัย  : 

พบผลบวกของภูมิคุ้มกันชนิด IgG ในไฟเซอร์ สูงกว่าซิโนแวค จากการตรวจ 3 วิธี และส่วนใหญ่พัฒนาภูมิคุ้มกันชนิด IgG หลังจากให้รับวัคซีนเข็ม 2 โดยไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างไฟเซอร์และซิโนแวค อีกทั้งการทดสอบของ Abbott แสดงให้เห็นว่าระดับแอนติบอดีของผู้ที่ได้รับไฟเซอร์สองครั้งนั้นสูงกว่าซิโนแวค ประมาณ 11 เท่า

ข้ออภิปราย  : 

การเว้นระยะห่างทางสังคม และมาตรการควบคุมการติดเชื้ออื่น ๆ จนถึง 4 สัปดาห์หลังจากการฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 เข็มยังมีความสำคัญ แม้ว่าผู้รับวัคซีนส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาแอนติบอดีหลังจากให้เข็มที่ 2 แต่ระดับของแอนติบอดีหรือแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ที่จำเป็นในการป้องกันการติดเชื้อในอนาคตยังไม่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน

อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  Hong Kong Medical Journal
19 มิถุนายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

Neutralising antibody ของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) ต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 B. 1.617.2 (สายพันธุ์เดลตา) และ B.1.351 (สายพันธุ์เบตา)

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  Neutralising antibody ของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) ต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 B. 1.617.2 (สายพันธุ์เดลตา) และ B.1.351 (สายพันธุ์เบตา)
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของวัคซีนในไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.617.2 เปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่น

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาติดตามกลุ่มลูกจ้างของ UCLH (University College London Hospital) หรือ The Francis Crick Institude ที่ได้รับวัคซีนแล้ว และวัดผลด้วยระดับ neutralising antibody ต่อสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์

ผลการวิจัย  : 
  • ระดับของ neutralising antibody หลังจากการได้วัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) 2 เข็ม ลดลง 5.8 เท่าสำหรับสายพันธุ์ B.1.617.2 และลดลง 4.9 เท่าสำหรับสายพันธุ์ B.1.351 เทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม
  • หลังจากได้วัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) 1 เข็ม 75% ของตัวอย่างมีระดับ neutralising antibody กับสายพันธุ์ B.1.351 ต่ำและ 68% ของตัวอย่างมีระดับ neutralising antibody กับสายพันธุ์ B.1.167.2 ต่ำ
  • อายุที่มากขึ้นและเวลาหลังจากฉีดวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) เข็มที่สองที่นานขึ้นสัมพันธ์กับระดับของ neutralising antibody ที่ต่ำลง
ข้ออภิปราย  : 
  • ผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้รับวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) 2 เข็มส่วนใหญ่น่าจะได้รับการป้องกันจากการติดเชื้อ B.1.617.2
  • ผู้ได้รับวัคซีน 1 เข็มน่าจะได้รับการป้องกันจากการติดเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ลดลงต่ำกว่ากลุ่มที่ได้วัคซีน 2 เข็ม
  • อายุที่มากขึ้นและเวลาที่มากขึ้นนับจากการได้รับวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) เข็มที่สอง สัมพันธ์กับระดับ neutralising antibody ที่ลดลงในสายพันธุ์ B.1.617.2 และ B.1.351
อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  The Lancet
17 มิถุนายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

ความไวหรือความต้านทานของเชื้อไวรัสโควิด19 สายพันธุ์กลายพันธุ์ต่อความสามารถในการลบล้างฤทธิ์

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  ความไวหรือความต้านทานของเชื้อไวรัสโควิด19 สายพันธุ์กลายพันธุ์ต่อความสามารถในการลบล้างฤทธิ์
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม , ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

เพื่อวัดความต้านทานของเชื้อไวรัสโควิด19 ชนิดดั้งเดิม, กลายพันธุ์ที่จุด D614G, สายพันธุ์อัลฟา และเบตา ต่อความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ที่เกิดจากการติดเชื้อหรือวัคซีน

วิธีการวิจัย  : 

การประเมินผลการต้านทานของไวรัสจำลองต่อการลบล้างฤทธิ์โดยใช้เซรั่มจากผู้ป่วย 34 ราย 5 เดือนหลังติดเชื้อโควิด-19 และเซรั่มจากผู้เข้าร่วม 50 คน 2 ถึง 3 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน Sinopharm หรือ Sinovac เข็มที่ 2

ผลการวิจัย  : 
  • ภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม:

    • ทั้งในเซรั่มผู้หายป่วยจากโควิดและเซรั่มผู้ได้รับวัคซีนเชื้อตายมีผลคล้ายกันคือมีภูมิต้านทานต่ำ
  • ภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์กลายพันธุ์:

    • ในเซรั่มผู้หายป่วยจากโควิด มีภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์อัลฟาดีกว่าสายพันธุ์เบตา และ 9 ใน 30 ตัวอย่างเซรั่มไม่มีภูมิขึ้นเลยต่อสายพันธุ์เบตา
    • เซรั่มหลังจากฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม: ผลคล้ายสายพันธุ์ดั้งเดิม (ภูมิต้านทานต่ำ) และ 20 ตัวอย่างเซรั่มไม่มีภูมิขึ้นหรือขึ้นเพียงบางส่วนต่อสายพันธุ์เบตา
    •  เซรั่มหลังจากฉีดวัคซีนซิโนแวค: ภูมิต้านทานต่ำลงอย่างชัดเจนต่อสายพันธุ์อัลฟาและเบตาเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม และตัวอย่างเซรั่มส่วนใหญ่ไม่มีภูมิขึ้นหรือขึ้นเพียงบางส่วนต่อสายพันธุ์เบตา
ข้ออภิปราย  : 

ผลการศึกษาพบว่ามีภูมิต้านทานของการลบล้างฤทธิ์ในเซรั่มของผู้หายป่วยจากโควิดและเซรั่มของผู้ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มหรือซิโนแวคครบ 2 เข็มต่อสายพันธุ์อัลฟาได้มากกว่าสายพันธุ์เบตา

อัพเดทข้อมูล  :  17/12/2564
แหล่งที่มา  :  The New England Journal of Medicine
15 มิถุนายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของอาการข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวค: การศึกษาอิสระแบบตัดขวางในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศตุรกี

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของอาการข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวค: การศึกษาอิสระแบบตัดขวางในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศตุรกี
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

เพื่อเพิ่มความมั่นใจของประชาชนในวัคซีนและเร่งกระบวนการรับวัคซีน

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบภาคตัดขวางสำหรับศึกษาอาการข้างเคียง จากการฉีดวัคซีนซิโนแวค ในบุคลากรทางการแพทย์ชาวตุรกีที่ได้รับวัคซีนหนึ่งหรือสองครั้งในช่วง 30 วันที่ผ่านมาโดยใช้แบบสอบถามที่สอบถามเกี่ยวกับอาการข้างเคียง ในบริเวณที่ฉีดและเกิดทั้งระบบร่างกาย โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ SPSS

ผลการวิจัย  : 
  • บุคลากรทางการแพทย์ชาวตุรกีพบอาการข้างเคียง ดังนี้
    • พบมีอาการปวดบริเวณที่ฉีด (41.5%) เป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุด
    • ผลข้างเคียงทั่วร่างกายที่พบได้บ่อย: มีอาการเหนื่อยล้า (23.6%) ปวดศีรษะ (18.7%) ปวดกล้ามเนื้อ (11.2%) และปวดข้อ (5.9%)
  • เพศกลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อยมีประวัติการติดเชื้อมาก่อน และมีการเจ็บป่วยเรื้อรังและการใช้ยาเป็นประจำอาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนซิโนแวค
ข้ออภิปราย  : 
  • ความชุกของอาการข้างเคียงที่เกิดจากการฉีดวัคซีนซิโนแวค พบมากกว่ากว่าที่รายงานโดยการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1-3
  • ผลการศึกษานี้ยืนยันความปลอดภัยโดยรวมของวัคซีนซิโนแวค และปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง ซึ่งสามารถศึกษาความแตกต่างที่เกิดขึ้นตามเพศและการกระจายของอาการข้างเคียง ระหว่างกลุ่มอายุนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติม
อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  Journal of Clinical Medicine
10 มิถุนายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีนแจนเซ่นในการป้องกันโรคโควิด 19

Vaccines   :

แจนเซ่น
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีนแจนเซ่นในการป้องกันโรคโควิด 19
ชนิดวัคซีน  :  แจนเซ่น
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีน Ad26.COV2.S (แจนเซ่น) 1 เข็มที่อนุภาคไวรัส 5 × 1010 ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด19 ในผู้ใหญ่

วิธีการวิจัย  : 
  • ศึกษาทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 3
  • ผู้เข้าร่วม 43783 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอก (placebo) โดยการสุ่มในอัตราส่วน 1:1
  • ประเมินประสิทธิศักย์ในการป้องกันโควิด 19 หลังได้รับวัคซีนอย่างน้อย 14 และ 28 วัน
ผลการวิจัย  : 
  • วัคซีนมีประสิทธิศักย์สูงกว่าในการป้องกันโควิด 19 ในระดับรุนแรง (76.7% [adjusted 95% CI, 54.6 to 89.1] ในกลุ่มที่เริ่มมีอาการ ≥14 วัน และ 85.4% [adjusted 95% CI, 54.2 to 96.9] ในกลุ่มที่เริ่มมีอาการ ≥28 days)
  • อุบัติการณ์ของการเกิดผลข้างเคียงชนิดรุนแรงมีขนาดเท่ากันระหว่าง 2 กลุ่ม
ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีน Ad26.COV2.S (แจนเซ่น) เพียงเข็มเดียวสามารถป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ที่มีอาการและการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ไม่แสดงอาการ และมีประสิทธิศักย์ในการป้องกันความรุนแรงของโรค รวมถึงการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิต ในแง่ของความปลอดภัยมึความคล้ายคลึงกับการทดลองวัคซีนโควิด-19 ระยะที่ 3 ชนิดอื่นๆ

หมายเหตุ:

ประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ต่ำกว่าสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของโรคที่สูงขึ้น การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ไวรัส ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบการทดลองวัคซีนได้

อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  New England Journal of Medicine
1 มิถุนายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนซิโนแวค

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนซิโนแวค
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับผู้มีอายุ 18 – 59 ปี

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

14 – 28 วัน

ข้อห้าม

  1. แพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน มีประวัติการเกิดภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน อาการบวมของเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง เช่น ริมฝีปากบวม ตาบวม หรือมีอาการหายใจลำบาก จากวัคซีนชนิดนี้หรือวัคซีนเชื้อตายชนิดอื่น
  2. ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงทางระบบประสาท เช่น โรคไข้สันหลังอักเสบ โรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หรือโรคปลอกประสาทอักเสบ
  3. ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมได้

ข้อควรระวัง

  1. หลักฐานทางคลินิกยังไม่เพียงพอสำหรับประสิทธิภาพการป้องกันในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  2. แนะนำให้สังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาทีภายหลังฉีดวัคซีน
  3. ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยกรณีต่อไปนี้
    1. ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนตามการประเมินของแพทย์ ในผู้ที่มีโรครุนแรงเฉียบพลัน หรือภาวะเฉียบพลันของโรคเรื้อรังหรือมีไข้
    2. มีโรคเบาหวานหรือประวัติการชัก โรคลมชัก โรคทางสมอง หรือโรคทางจิตเวช
    3. มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคเลือดผิดปกติ เนื่องจากมีความเสี่ยงเลือดออกจากการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ ควรฉีดด้วยความระมัดระวัง
    4. มีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    5. ควรฉีดวัคซีนนี้ห่างจากการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลินอย่างน้อย 1 เดือน
  4. ยังไม่มีการศึกษาถึงการได้รับวัคซีนนี้ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์
  5. ห้ามไม่ให้ใช้วัคซีนชนิดนี้ซ้ำ หากมีผลข้างเคียงรุนแรงทางระบบประสาทภายหลังการฉีดครั้งแรก
อัพเดทข้อมูล  :  18/10/2564
แหล่งที่มา  :  องค์การอนามัยโลก
28 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 ซิโนฟาร์ม เป็นยาควบคุมพิเศษ

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 ซิโนฟาร์ม เป็นยาควบคุมพิเศษ
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพื่อป้องกันโรคท่ีเกิดจาก เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

21 – 28 วัน

ข้อห้าม

ห้ามใช้ COVILO ในผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีนนี้

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกิน ผู้ได้รับวัคซีนควรเฝ้าระวังอาการแพ้ชนิดรุนแรงหลังฉีดเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
  2. อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
    1. ปวดบริเวณที่ฉีด
    2. ปวดศีรษะ
    3. มีไข้ อ่อนล้า หายใจลำบาก
  3. อาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง

หมายเหตุ:

1. วัคซีนมีอายุ 6 เดือนหลังเปิดขวด ควรใช้วัคซีนทันทีหลังเปิดขวด

2. ยังไม่มีการศึกษาเรื่องความเข้ากันของยา จึงไม่ควรผสมวัคซีนน้ีร่วมกับผลิตภัณฑ์ยาตัวอื่น

อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
24 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การประเมินหลักฐาน: วัคซีนซิโนแวคในการป้องกันโรคโควิด 19

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  การประเมินหลักฐาน: วัคซีนซิโนแวคในการป้องกันโรคโควิด 19
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 
  • ประสิทธิผลของ CoronaVac 14 วันหลังจากฉีดครบ 2 เข็ม
    • 67% ในการป้องกันอาการ COVID-19
    • 85% ในการป้องกันการเข้าโรงพยาบาล
    • 90% ในการป้องกันการเข้าไอซียู
    • 80% ในการป้องกันความตาย
  • ข้อแนะนำสำหรับการใช้งานชั่วคราว
    • ใช้สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
    • ใช้ในสตรีมีครรภ์เมื่อประโยชน์ของการฉีดวัคซีนแก่หญิงตั้งครรภ์มีมากกว่าความเสี่ยง
    • แนะนำสำหรับผู้ที่มีโรคร่วมที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ที่รุนแรง ได้แก่ โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางเดินหายใจ
    • ข้อมูลความปลอดภัยในปัจจุบันสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยังมีอยู่อย่างจำกัด (เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมการทดลองทางคลินิกจำนวนน้อย)
  • ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบของวัคซีน COVID-19 Sinovac-CoronaVac ต่อการแพร่เชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด19
อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
24 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต่อสายพันธุ์ B.1.617.2 (เดลต้า)

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต่อสายพันธุ์ B.1.617.2 (เดลต้า)
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนป้องกันอาการของทั้งสองสายพันธุ์ทั้ง B.1.1.7 (แอลฟา) ในช่วงที่ B.1.617.2 เริ่มแพร่ระบาดโดยระบุจากลำดับและเป้าหมายของยีนเอส

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบกลุ่มควบคุมผลตรวจลบ นำมาใช้เพื่อประเมินประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนป้องกันการเกิดโรคและมีอาการของทั้งสองสายพันธุ์ในช่วงเวลาที่ สายพันธุ์ B.1.617.2 เริ่มมีการแพร่ระบาด อีกทั้งยังระบุลำดับและเป้าหมายของยีน S อ้างอิงจากข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการทั้งหมดในอังกฤษถูกใช้เพื่อประเมินสัดส่วนของผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์ B.1.617.2 เทียบกับสายพันธุ์เด่น B.1.1.7 ตามสถานะการได้ฉีดวัคซีน

ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิผลลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 โดยมีผู้ป่วยจากสายพันธ์ุ B.1.617.2 (เดลต้า) 33.5% (95%CI: 20.6 ถึง 44.3) เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟ่า) 51.1% (95%CI: 47.3 ถึง 54.7) มีความคล้ายคลึงกัน ผลลัพธ์ของวัคซีนทั้งสองชนิด
  • ประสิทธิผลของวัคซีน BNT162b2 (Pfizer) 2 เข็ม ลดลงเหลือ 93.4% (95%CI: 90.4 ถึง 95.5) ในผู้ป่วยที่พบสายพันธุ์ B.1.17 (อัลฟ่า) เป็น 87.9% (95%CI: 78.2 ถึง 93.2) ในผู้ป่วยที่พบสายพันธุ์ B.1.617.2 (เดลต้า)
  • ประสิทธิผลของวัคซีน ChAdOx1 (แอสตร้าเซนเนก้า) 2 เข็ม ลดลงเหลือ 66.1% (95% CI: 54.0 75.0) ในผู้ป่วยที่พบสายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟ่า) และ 59.8% (95%CI: 28.9 ถึง 77.3) ในผู้ป่วยที่พบสายพันธุ์ B.1.617.2 (เดลต้า)
ข้ออภิปราย  : 
  • ประสิทธิผลของวัคซีนหนึ่งโดสต่อการเกิดอาการของโรคจากสายพันธุ์ B.1.617.2 ประมาณ 20% เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ B.1.1.7
  • ประสิทธิผลของวัคซีนลดลงหลังจากให้สองโดสเกิดขึ้นน้อยมาก
  • ประสิทธิผลในการต่อการยับยั้งสายพันธุ์ B.1.617.2 สำหรับวัคซีนตัวใดตัวหนึ่งตัวใดตัวหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 33% สำหรับวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) สองโดสจะอยู่ที่ประมาณ 88% และสำหรับวัคซีน ChAdOx1 (แอสตร้าเซนเนก้า) สองโดสจะอยู่ที่ประมาณ 60%
อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  medRxiv - The Preprint Server for Health Sciences
20 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิศักย์ของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในการป้องกันโรคโควิด 19 ที่เกิดจาก ไวรัส SARS-CoV2 B1.351 (สายพันธุ์เบตา)

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป)
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิศักย์ของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในการป้องกันโรคโควิด 19 ที่เกิดจาก ไวรัส SARS-CoV2 B1.351 (สายพันธุ์เบตา)
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป)
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในการป้องกันโรคโควิด 19 ที่เกิดจาก ไวรัส SARS-CoV2 สายพันธ์ุ B.1.351

วิธีการวิจัย  : 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม โดยศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดีอายุ 18-65 ปีจำนวน 2,026 คน เพื่อศึกษาประสิทธิศักย์ในการป้องกันโรคโควิด19 ที่มีอาการและตรวจยืนยัน หลังจากได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือวัคซีนหลอกเข็มที่ 2 เกิน 2 สัปดาห์ การศึกษานี้ทำในประเทศแอฟริกาใต้ในช่วงที่สายพันธุ์ B.1.351 กำลังแพร่ระบาด

ผลการวิจัย  : 

ค่ามัธยฐานของอายุกลุ่มการศึกษา 30 ปี 56.5 % เป็นผู้ชาย ค่ามัธยฐานระยะห่างระหว่าง 2 เข็ม 28 วัน ประสิทธิศักย์ในการป้องกันโรคโควิด 19 จากสายพันธุ์ B.1.351 ที่มีอาการและตรวจยืนยัน ด้วยวิธี NAAT (39 ราย) หลังจากได้รับวัคซีนหรือวัคซีนหลอกเข็มที่ 2 เกิน 2 สัปดาห์ 10.4% (ค่าความเชื่อมั่น 95% -76.8 ถึง 54.8)

ข้ออภิปราย  : 
  • การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มไม่มีประสิทธิศักย์ในการป้องกันโรคโควิด 19 ที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV2 สายพันธุ์เบตา
  • ไม่มีผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในการศึกษานี้

หมายเหตุ:

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิศักย์ในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการน้อยถึงปานกลางจากโรคโควิด19 75.4% (ค่าความเชื่อมั่น 95% 8.7 ถึง 95.5) หลังจากได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 เกิน 2 สัปดาห์ก่อนการระบาดของสายพันธุ์เบตา

อัพเดทข้อมูล  :  10/11/2564
17 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

สามารถจัดเก็บวัคซีน COVID-19 BioNTech/Pfizer ได้สะดวกมากขึ้น

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  สามารถจัดเก็บวัคซีน COVID-19 BioNTech/Pfizer ได้สะดวกมากขึ้น
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

จากการประเมินข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติมโดย องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency (EMA)) ได้มีการอนุมัติให้สามารถเก็บวัคซีน COVID-19 BioNTech/Pfizer ในรูปแบบของวัคซีนชนิดละลายในหลอดที่ยังไม่เปิดที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส (เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นธรรมดา) ได้นานถึง 1 เดือน (31 วัน)

อัพเดทข้อมูล  :  14/10/2564
แหล่งที่มา  :  European Medicines Agency (EMA)
14 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาใหญ่ที่สุดของ CDC ซึ่งศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์พบว่าวัคซีนชนิด mRNA มีประสิทธิผล 94%

Vaccines   :

โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาใหญ่ที่สุดของ CDC ซึ่งศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์พบว่าวัคซีนชนิด mRNA มีประสิทธิผล 94%
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

จากการศึกษาล่าสุดของ CDC
1. เป็นการศึกษาแบบที่มีกลุ่มควบคุม
2. เปรียบเทียบสถานะของการฉีดวัคซีน mRNA ของผู้ที่ตรวจพบเชื้อ SARS-CoV-2 (cases) กับผู้ที่ตรวจไม่พบเชื้อ SARS-CoV-2 (controls)
3. คำนวณประสิทธิผลของวัคซีนโดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนออด (odds ratio) ของการได้รับวัคซีนของ cases ต่อ controls
4. มีผู้เข้าร่วมการศึกษานี้จำนวน 1,843 ราย โดยแบ่งเป็น case 623 รายและ control 1,200 ราย
5. วัคซีนชนิด mRNA สามารถลดการเกิดโรค COVID-19 ที่มีอาการได้ 94%ในบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็ม (คำนวณที่เวลาตั้งแต่ 7 วันหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สอง)
6. วัคซีนชนิด mRNA สามารถลดการเกิดโรค COVID-19 ที่มีอาการได้ 82% ในบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มที่ได้รับวัคซีนหนึ่งเข็ม (คำนวณที่เวลาตั้งแต่ 14 วันหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่งจนถึง 6 วันหลังจากได้วัคซีนเข็มที่สอง)
7. การศึกษานี้ได้ทำในเครือข่ายการศึกษาที่แตกต่างกันโดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่กว่ารวมทั้งศึกษาในหลากหลายพื้นที่มากกว่าใน การทดลองทางคลินิก โดยผลการศึกษานี้เป็นการยืนยันการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเดิมที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564

อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
14 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา 33 แห่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2564

Vaccines   :

โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา 33 แห่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2564
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา 33 แห่งตั้งแต่ มกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2564

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาชนิด test-negative, case-control ในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา 33 แห่ง ใน 25 รัฐตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2564

ผลการวิจัย  : 

ผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสผู้ป่วยโควิด 19 โดยตรง ค่ามัธยฐานของกลุ่มการศึกษาอายุ 38 ปี (กลุ่มผู้ป่วย) 37 ปี (กลุ่มควบคุม) ประสิทธิภาพหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 1เป็น 82% หลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็น 94%

ข้ออภิปราย  : 

วัคซีนโควิดชนิด mRNA มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด 19 ที่มีอาการในบุคลากรทางการแพทย์

อัพเดทข้อมูล  :  09/11/2564
13 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 โมเดอร์นา เป็นยาควบคุมพิเศษ

Vaccines   :

โมเดอร์นา
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 โมเดอร์นา เป็นยาควบคุมพิเศษ
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับผู้มีอายุ 18 ขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

28 วัน

ข้อห้าม

ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีนนี้

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 30 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน ไม่ควรให้วัคซีนเข็มที่ 2 หากมีภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลันหลังฉีดวัคซีนชนิดนี้เข็มที่ 1
  2. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ – มีรายงานที่พบได้น้อยมากของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังการฉีดวัคซีน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 14 วันแรกหลังได้รับวัคซีน และหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 และในวัยหนุ่มเพศชาย บุคลากรทางการแพทย์และผู้ได้รับวัคซีนควรสังเกตอาการดังต่อไปนี้ เช่น เจ็บหน้าอกเฉียบพลันหรือต่อเนื่อง หายใจถี่ และใจสั่น
  3. ภาวะวิตกกังวลต่อการได้รับวัคซีน – ควรระวังการบาดเจ็บจากอาการเป็นลมซึ่งเกิดจากภาวะดังกล่าว
  4. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
  5. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  6. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดนี้อาจจะต่ำกว่าในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อัพเดทข้อมูล  :  24/10/2564
12 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

การศึกษาผลของการฉีดวัคซีนโควิด 19 ต่อการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในสหราชอาณาจักร

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  การศึกษาผลของการฉีดวัคซีนโควิด 19 ต่อการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในสหราชอาณาจักร
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ชนิด BNT162b2 (ไฟเซอร์) และ ChAdOx1 (แอสตร้าเซนเนก้า)ในสหราชอาณาจักร

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional) โดยสุ่มตัวอย่างหลายครั้งและติดตามกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ที่มีข้อมูลในฐานข้อมูลระบบสาธารณสุขระดับประเทศ (Office for National Statistics COVID-19 Infection Survey)           ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 8 พฤษภาคม 2564

ผลการวิจัย  : 

มีผู้เข้าการศึกษาวิจัยจำนวน 383,812 คน ตรวจหาการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 1,945,071 ครั้ง พบประสิทธิผลของวัคซีนในการลดการติดเชื้อ SARS-CoV-2 หลังฉีดเข็มที่ 2 ของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) 79% และ ChAdOx1 (แอสตร้าเซนเนก้า) 80%

ข้ออภิปราย  : 

การฉีดวัคซีนสามารถลดโอกาสติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยการฉีด 2 เข็มได้ประโยชน์มากกว่า โดยวัคซีนชนิด BNT162b2 (ไฟเซอร์) กับ ChAdOx1 (แอสตร้าเซนเนก้า) มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ไม่แตกต่างกัน

หมายเหตุ:

การฉีดวัคซีน 2 เข็มได้ประโยชน์มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ติดเชื้อที่มีอาการประสิทธิผล 95% (ค่าความเชื่อมั่น 95% 90 ถึง 97) เมื่อเทียบกับการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ 58% (ค่าความเชื่อมั่น 95% 43 ถึง 69)

อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  Nature Medicine
11 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด19 ไฟเซอร์ และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลในผู้สูงอายุของประเทศอังกฤษ: การศึกษาแบบสังเกต โดยใช้ข้อมูลการเฝ้าระวัง

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด19 ไฟเซอร์ และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลในผู้สูงอายุของประเทศอังกฤษ: การศึกษาแบบสังเกต โดยใช้ข้อมูลการเฝ้าระวัง
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อของวัคซีนโควิด19 ไฟเซอร์ และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลในผู้สูงอายุ (ตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป) ในประเทศอังกฤษ

วิธีการวิจัย  : 
  •  เป็นการศึกษาแบบ case-coverage design
  •  ประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลเป็นการเปรียบเทียบระหว่างอัตราการฉีดวัคซีนในผู้ป่วยโควิด-19 ที่นอนโรงพยาบาลซึ่งมีส่วนร่วมใน SARI Watch (ระบบติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ที่นอนโรงพยาบาลของประเทศอังกฤษ) กับประชากรที่จับคู่
ผลการวิจัย  : 
  • ในผู้อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป
    • ประสิทธิผลของวัคซีนโดยรวมในการป้องกันการนอนโรงพยาบาล

      • 80% (95%CI 74-85%) ที่ 28 วันนับจากวัคซีนเข็มแรก
      • 92% (95%CI 87-95%) ที่ 14 วันนับจากวัคซีนเข็มที่สอง
    • ประสิทธิผลของวัคซีนแต่ละชนิดในการป้องกันการนอนโรงพยาบาล

      • 73% (95%CI 60-81%) ที่ 28 วันนับจากได้รับวัคซีน ChAdOx1 (แอสตร้าเซนเนก้า) เข็มแรก
      • 81% (95%CI 76-85%) ที่ 28 วันนับจากได้รับวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) เข็มแรก และ 93% (95%CI 89-95%) ที่ 7 วันนับจากได้รับวัคซีน BNT 162b2 (ไฟเซอร์) เข็มที่สอง
  • ในผู้อายุ 70-79 ปี

    • ประสิทธิผลของวัคซีนโดยรวมในการป้องกันการนอนโรงพยาบาล
      • 82% (95%CI 75-87%) ที่ 28 วันนับจากวัคซีนเข็มแรก
      • มีข้อมูลน้อยเกินไปในวัคซีนเข็มที่สอง
    • ประสิทธิผลของวัคซีนแต่ละชนิดในการป้องกันการนอนโรงพยาบาล

      • 84% (95%CI 74-89%) ที่ 28 วันนับจากได้รับวัคซีน ChAdOx1 (แอสตร้าเซนเนก้า) เข็มแรก
      • 81% (95%CI 73-87%) ที่ 28 วันนับจากได้รับวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) เข็มแรก
ข้ออภิปราย  : 
  • การได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือ ไฟเซอร์จำนวน 1 เข็ม และโดยเฉพาะเมื่อได้รับวัคซีนไฟเซอร์ จำนวนสองเข็ม มีประสิทธิผลสูงในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากโรคโควิด 19 ในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
อัพเดทข้อมูล  :  17/11/2564
แหล่งที่มา  :  Knowledge Hub - Preprints
10 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 กับข้อมูลความสำเร็จ

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 กับข้อมูลความสำเร็จ
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

1. การศึกษาจาก New Public Health England (PHE) พบว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 สามารถป้องกันการเสียชีวิตและการนอนโรงพยาบาลจากโรคโควิด 19 ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ
2. ผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสต้าเซเนก้า 1 เข็มมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน 80%
3. วัคซีนไฟเซอร์สามารถลดโอกาสการเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ได้ 80% หลังจากได้รับวัคซีน 1 เข็ม และ 97% หากได้รับวัคซีน 2 เข็ม
4. ข้อมูลส่วนใหญ่ในการศึกษาเป็นไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟา)

อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
7 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนซิโนฟาร์ม

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนซิโนฟาร์ม
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับผู้มีอายุ 18 – 59 ปี

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

3 – 4 สัปดาห์

ข้อห้าม

  1. แพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน
  2. ผู้ที่มีประวัติการแพ้วัคซีนอย่างเฉียบพลัน อาการบวมของเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง เช่น ริมฝีปากบวม ตาบวม หรือมีอาการหายใจลำบาก
  3. ผู้ป่วยโรคลมชักที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือ โรคทางระบบประสาทที่มีอาการแย่ลงเรื่อยๆ และมีประวัติโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร

ข้อควรระวัง

  1. หลักฐานทางคลินิกยังไม่เพียงพอสำหรับประสิทธิภาพการป้องกันในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  2. แนะนำให้สังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาทีภายหลังฉีดวัคซีน เผื่อมีกรณีการแพ้รุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งเกิดขึ้นได้บางโอกาส
  3. ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยกรณีต่อไปนี้
    1. ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนตามการประเมินของแพทย์ ในผู้ที่มีโรครุนแรงเฉียบพลัน หรือภาวะเฉียบพลันของโรคเรื้อรังหรือมีไข้
    2. มีโรคเบาหวานหรือประวัติการชัก โรคลมชัก โรคทางสมอง หรือโรคทางจิตเวช
    3. มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากมีความเสี่ยงเลือดออกจากการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ
    4. มีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    5. ควรฉีดวัคซีนนี้ห่างจากการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลินอย่างน้อย 1 เดือน
  4. ยังไม่มีการศึกษาถึงการได้รับวัคซีนนี้ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์
  5. ห้ามไม่ให้ใช้วัคซีนชนิดนี้ซ้ำ หากมีผลข้างเคียงรุนแรงทางระบบประสาทภายหลังการฉีดครั้งแรก
อัพเดทข้อมูล  :  14/10/2564
แหล่งที่มา  :  WHO Website, WHO Document, WHO Document
5 พฤษภาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิผลของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) ในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟา) และ สายพันธุ์ B.1.351 (เบตา)

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิผลของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) ในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟา) และ สายพันธุ์ B.1.351 (เบตา)
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) ในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.1.7 และ B.1.351

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบกลุ่มควบคุมผลตรวจลบ ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลในประเทศกาตาร์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ต่อไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.7 และ B.1.351

ผลการวิจัย  : 

ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ต่อการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.7 89.5% ต่อสายพันธุ์ B.1.351 75% และต่อการเกิดโรคโควิด 19 ที่อาการรุนแรงและเสียชีวิต 97.4%

ข้ออภิปราย  : 

จากการศึกษาในประเทศกาตาร์ วัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์)
มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.1.7 และเบตา B.1.351

อัพเดทข้อมูล  :  24/11/2564
30 เมษายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนโมเดอร์นา

Vaccines   :

โมเดอร์นา
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนโมเดอร์นา
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งเกิดจากไวรัส SARS-Cov-2 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

28 วัน

ข้อห้าม

มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – มีรายงานภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (anaphylaxis) แนะนำให้สังเกตอาการอย่างน้อย 15 นาทีภายหลังฉีดวัคซีน ไม่ควรให้วัคซีนโมเดอร์นาเข็มที่ 2 หากมีภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลันหลังฉีดวัคซีนโมเดอร์นาเข็มที่ 1
  2. ภาวะวิตกกังวลต่อการได้รับวัคซีน – ควรระวังการบาดเจ็บจากอาการเป็นลมซึ่งเกิดจากภาวะดังกล่าว
  3. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
  4. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  5. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  6. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย – ปวดบริเวณที่ฉีด (92%), อ่อนเพลีย (70%), ปวดศีรษะ (64.7%), ปวดกล้ามเนื้อ (61.5%), ปวดข้อ (46.4%), หนาวสั่น (45.4%), คลื่นไส้ อาเจียน (23%), ปวดบวมบริเวณรักแร้ (19.8%), ไข้ (15.5%), บวมบริเวณที่ฉีด (14.7%) และแดงบริเวณที่ฉีด (10%)
อัพเดทข้อมูล  :  18/10/2564
แหล่งที่มา  :  องค์การอนามัยโลก
28 เมษายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

วัคซีนโควิด-19 หนึ่งโดสสามารถลดการแพร่เชื้อในครัวเรือนได้มากถึงครึ่งหนึ่ง

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  วัคซีนโควิด-19 หนึ่งโดสสามารถลดการแพร่เชื้อในครัวเรือนได้มากถึงครึ่งหนึ่ง
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป) , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาว่าผู้ที่ได้รับวัคซีน 1 โดสแล้ว แต่ยังติดเชื้อ SARS-COV-2 ภายใน 60 วันหลังจากฉีดเข็มแรก มีโอกาสแพร่เชื้อสู่คนในครอบครัวได้น้อยกว่าผู้แพร่เชื้อที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

วิธีการวิจัย  : 

เป็นการศึกษาแบบติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลจากชุดข้อมูลการประเมินการแพร่ระบาดในครัวเรือน (HOSTED) ซึ่งมีข้อมูลยืนยันผลการตรวจโควิด-19 จากห้องปฏิบัติการ และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างสองกลุ่ม

ผลการวิจัย  : 

คนที่ฉีดวัคซีนไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์ หรือ แอสตร้าเซนเนก้า เข็มเดียวแล้วติดเชื้อ ลดโอกาสแพร่เชื้อให้คนในบ้านลงไปได้ถึงครึ่งหนึ่ง และผลดีนี้เห็นชัดหลังฉีดวัคซีนไปแล้ว 14 วัน

ข้ออภิปราย  : 
  • ทั้งวัคซีนไฟเซอร์ และแอสตร้าเซนเนก้า นอกจากป้องกันไม่ให้ป่วย ยังป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ และไม่แพร่เชื้อได้ด้วย ครบประโยชน์ 3 ด้านของวัคซีน
  • แม้จะเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการติดเชื้อในครัวเรือน แต่ก็สามารถทำนายการสัมผัสใกล้ชิดในสถานที่อื่นได้เช่นกัน
อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  GovUK
26 เมษายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

ประสิทธิภาพของวัคซีนโรคโควิด 19 ชนิด messenger RNA ในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 รุนแรงในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

Vaccines   :

โมเดอร์นา ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ประสิทธิภาพของวัคซีนโรคโควิด 19 ชนิด messenger RNA ในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 รุนแรงในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์
ชนิดวัคซีน  :  โมเดอร์นา , ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประมาณประสิทธิผลของวัคซีนในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

วิธีการวิจัย  : 

การศึกษาแบบย้อนหลังในบุคลากรทางการแพทย์ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด 19 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564 ประสิทธิผลของวัคซีนคำนวณจากสูตร 1-อัตราส่วนของการเกิดโรค

ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ 78.1% ในกลุ่มที่ได้วัคซีนบางส่วน และ 96.8% ในกลุ่มที่ได้วัคซีนครบ
  • ประสิทธิผลของวัคซีนโมเดอร์นา 91.2% ในกลุ่มที่ได้วัคซีนบางส่วน และ 98.6% ในกลุ่มที่ได้วัคซีนครบ
ข้ออภิปราย  : 

ประสิทธิผลของวัคซีนสูงมากในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในหลายภูมิภาคของประเทศสหรัฐอเมริกา (ประสิทธิผล > 96% ในวัคซีน mRNA ยี่ห้อที่มีอยู่ในปัจจุบัน) และไม่ได้เป็นการศึกษาแบบสุ่มและมีโอกาสที่จะมีตัวกวนซึ่งจะมีผลต่อผลการวิจัย

อัพเดทข้อมูล  :  15/11/2564
แหล่งที่มา  :  Oxford Academic
15 เมษายน 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า/อ็อกซ์ฟอร์ดที่มีฐานผลิตในยุโรป

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป)
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า/อ็อกซ์ฟอร์ดที่มีฐานผลิตในยุโรป
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป)
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งเกิดจากไวรัส SARS-Cov-2 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

4 – 12 สัปดาห์

ข้อห้าม

  1. มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
  2. ผู้มีประวัติโรคหลอดเลือดดำและ/หรือหลอดแดงอุดตันชนิดรุนแรงร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำหลังจากได้รับวัคซีน COVID-19 ชนิดใดก็ตาม

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 15 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน
  2. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
  3. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันและภาวะเกล็ดเลือดต่ำ – มีรายงานผลข้างเคียงรุนแรงที่พบได้น้อยมากของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงและหรือหลอดเลือดดำ ร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ และบางรายเลือดออกร่วมด้วยตามหลังการฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดภายใน 14 วันภายหลังการฉีดวัคซีน ในรายที่มีความเสี่ยง ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน ให้รีบพบแพทย์ทันทีหากสังเกตอาการ ปวดหัวเรื้อรัง สายตาพร่ามัว มีอาการมึนงง อาการชัก หายใจไม่เต็มอิ่ม แน่นหน้าอก ขาบวม ปวดขา ปวดท้องเป็นเวลานาน รอยช้ำหรือจุดเลือดออกที่ผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากได้รับวัคซีน
  4. ความเสี่ยงที่จะเลือดออกในการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  5. ผลข้างเคียงทางระบบประสาท – มีรายงานที่พบได้น้อยมากของอาการผิดปกติของปลอกประสาทภายหลังการฉีดวัคซีน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัด ผู้ที่มีความเสี่ยงควรได้รับคำแนะนำถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและชนิดอื่นๆ
  6. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีข้อมูลว่าผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่กำลังรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันจะมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเหมือนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติหรือไม่
  7. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย – ธรรมดามาก (≥1/10) ธรรมดา (≥1/100 ถึง <1/10) ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียถ่ายเหลว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดร้อนคัน บวม หรือมีผื่นแดง บริเวณที่ฉีด เหนื่อยง่าย ปวดเมื่อยตัว มีไข้ ไข้หนาวสั่น อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่
อัพเดทข้อมูล  :  14/10/2564
แหล่งที่มา  :  องค์การอนามัยโลก
25 มีนาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 แจนเซ่น เป็นยาควบคุมพิเศษ

Vaccines   :

แจนเซ่น
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 แจนเซ่น เป็นยาควบคุมพิเศษ
ชนิดวัคซีน  :  แจนเซ่น
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับผู้มีอายุ 18 ขึ้นไป

จำนวนโดส

1 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

N/A

ข้อห้าม

ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีนนี้

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 30 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน
  2. ภาวะวิตกกังวลต่อการได้รับวัคซีน – ควรระวังการบาดเจ็บจากอาการเป็นลมซึ่งเกิดจากภาวะดังกล่าว
  3. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือมีการติดเชื้อเฉียบพลัน
  4. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  5. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
อัพเดทข้อมูล  :  24/10/2564
12 มีนาคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนแจนเซ่น

Vaccines   :

แจนเซ่น
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนแจนเซ่น
ชนิดวัคซีน  :  แจนเซ่น
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งเกิดจากไวรัส SARS-Cov-2 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

1 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

N/A

ข้อห้าม

มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 15 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน
  2. ภาวะวิตกกังวลต่อการได้รับวัคซีน – ควรระวังการบาดเจ็บจากอาการเป็นลมซึ่งเกิดจากภาวะดังกล่าว
  3. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
  4. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  5. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
อัพเดทข้อมูล  :  14/10/2564
แหล่งที่มา  :  องค์การอนามัยโลก
22 กุมภาพันธ์ 2564

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 ซิโนแวค เป็นยาควบคุมพิเศษ

Vaccines   :

ซิโนแวค
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 ซิโนแวค เป็นยาควบคุมพิเศษ
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนแวค
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับผู้มีอายุ 18 – 59 ปี

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

2 สัปดาห์

ข้อห้าม

ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ตัวยาสำคัญของวัคซีน หรือส่วนประกอบใดๆ ของวัคซีนนี้

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกิน – เหมือนกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ความช่วยเหลือและการรักษาทางการแพทย์ควรมีเตรียมพร้อมในกรณีภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลันหลังการฉีดวัคซีน
  2. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน
  3. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  4. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีข้อมูลว่าผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่กำลังรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันจะมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเหมือนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติหรือไม่
อัพเดทข้อมูล  :  24/10/2564
19 กุมภาพันธ์ 2564

หัวข้อวิจัย   :

ผลของการฉีดวัคซีน 1 เข็มและระยะเวลาระหว่างเข็มของการฉีดวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) (แอสตร้าเซนเนก้า) กับการสร้างภูมิคุ้มกันและประสิทธิศักย์ของวัคซีน: pool analysis ของการศึกษาแบบ randomised จำนวน 4 การศึกษา

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป)
หัวข้อวิจัย  :  ผลของการฉีดวัคซีน 1 เข็มและระยะเวลาระหว่างเข็มของการฉีดวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) (แอสตร้าเซนเนก้า) กับการสร้างภูมิคุ้มกันและประสิทธิศักย์ของวัคซีน: pool analysis ของการศึกษาแบบ randomised จำนวน 4 การศึกษา
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป)
จุดประสงค์  : 
  • เพื่อนำผลการวิเคราะห์เดิมจากการศึกษาวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 (แอสตร้าเซนเนก้า) มาวิเคราะห์รวมกัน
  • ทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมจากข้อมูลการศึกษาวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 (แอสตร้าเซนเนก้า) เดิม เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มระยะเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนสองเข็มกับการสร้างภูมิคุ้มกันและประสิทธิศักย์ของวัคซีน
  • แสดงให้เห็นถึงภูมิคุ้มกันและความสามารถในการป้องกันโรคหลังฉีดวัคซีนหนึ่งเข็ม
วิธีการวิจัย  : 
  • การทดลองแบบสุ่ม 4 การศึกษา ในอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 (แอสตร้าเซนเนก้า) จำนวน 2 เข็ม เทียบกับวัคซีนที่ไม่ใช่วัคซีนโควิด 19 หรือน้ำเกลือ (ขึ้นกับการศึกษา)
  • ผลที่ต้องการศึกษา: ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการและตรวจพบเชื้อไวรัสที่เกิดในช่วงมากกว่า 14 วันนับจากได้วัคซีนเข็มที่สอง และเกิดในช่วงมากกว่า 21 วันนับจากได้วัคซีนเข็มแรก
ผลการวิจัย  : 
  • ประสิทธิศักย์โดยรวมของวัคซีนที่มากกว่า 14 วันหลังจากวัคซีนเข็มสองเท่ากับ 66.7%
  • ประสิทธิศักย์หลังจากได้วัคซีน 1 เข็มที่วันที่ 22-90 หลังจากฉีดวัคซีนเท่ากับ 76.0%
  • ประสิทธิศักย์ของวัคซีนในกลุ่มที่มีระยะห่างระหว่างเข็มนานสูงกว่าในกลุ่มที่มีระยะห่างระหว่างเข็มสั้น (81.3% ≥12 สัปดาห์ เทียบกับ 55.1% <6 สัปดาห์)
ข้ออภิปราย  : 
  • วัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 (แอสตร้าเซนเนก้า) 2 เข็มมีประสิทธิศักย์ในการป้องกันการเกิดโรคโควิด 19 ที่มีอาการ
  • การวางแผนการกระจายวัคซีนด้วยการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ครอบคลุมประชากรให้มากที่สุดตามด้วยวัคซีนเข็มที่สองห่างจากเข็มแรกสามเดือนอาจเป็นแผนการจัดการที่มีประสิทธิผล ในการลดการเกิดโรคและอาจมีผลดีมากกว่าการฉีดโดยมีระยะห่างระหว่างเข็มสั้นในกรณีที่มีการระบาดและมีการขาดแคลนวัคซีน
อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  The Lancet
15 กุมภาพันธ์ 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งสองแบบของแอสตร้าเซนเนก้า/อ็อกซ์ฟอร์ดที่ผลิตในประเทศเกาหลีใต้และประเทศอินเดีย

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (อินเดีย)
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งสองแบบของแอสตร้าเซนเนก้า/อ็อกซ์ฟอร์ดที่ผลิตในประเทศเกาหลีใต้และประเทศอินเดีย
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (อินเดีย)
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

4 – 12 สัปดาห์

ข้อห้าม

มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกิน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 15 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน
  2. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน
  3. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  4. ผลข้างเคียงทางระบบประสาท – พบการรายงานการเกิดโรคปลอกประสาทอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนได้น้อยมาก
  5. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ไม่มีข้อมูลว่าผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน จะตอบสนองกับสูตรการให้วัคซีนนี้เทียบเท่ากับผู้มีภูมิคุ้มกันปกติ
อัพเดทข้อมูล  :  14/10/2564
แหล่งที่มา  :  องค์การอนามัยโลก
15 กุมภาพันธ์ 2564

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งสองแบบของแอสตร้าเซนเนก้า/อ็อกซ์ฟอร์ดที่ผลิตในประเทศเกาหลีใต้และประเทศอินเดีย

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (เกาหลีใต้)
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งสองแบบของแอสตร้าเซนเนก้า/อ็อกซ์ฟอร์ดที่ผลิตในประเทศเกาหลีใต้และประเทศอินเดีย
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (เกาหลีใต้)
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งเกิดจากไวรัส SARS-Cov-2 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

4 – 12 สัปดาห์

ข้อห้าม

แพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน และผู้ป่วยที่มีประวัติมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำและ/หรือหลอดเลือดแดง ร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำหลังจากได้รับวัคซีนโควิดชนิดใดก็ตาม

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 15 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน
  2. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
  3. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันและภาวะเกล็ดเลือดต่ำ – มีรายงานผลข้างเคียงรุนแรงที่พบได้น้อยมากของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงและหรือหลอดเลือดดำ ร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ และบางรายเลือดออกร่วมด้วยตามหลังการฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดภายใน 14 วันภายหลังการฉีดวัคซีน ในรายที่มีความเสี่ยง ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน ให้รีบพบแพทย์ทันทีหากสังเกตอาการ ปวดหัวเรื้อรัง สายตาพร่ามัว มีอาการมึนงง อาการชัก หายใจไม่เต็มอิ่ม แน่นหน้าอก ขาบวม ปวดขา ปวดท้องเป็นเวลานาน รอยช้ำหรือจุดเลือดออกที่ผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากได้รับวัคซีน
  4. ความเสี่ยงที่จะเลือดออกในการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  5. ผลข้างเคียงทางระบบประสาท – มีรายงานที่พบได้น้อยมากของอาการผิดปกติของปลอกประสาทภายหลังการฉีดวัคซีน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัด ผู้ที่มีความเสี่ยงควรได้รับคำแนะนำถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและชนิดอื่นๆ
  6. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีข้อมูลว่าผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่กำลังรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันจะมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเหมือนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติหรือไม่
  7. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย – ธรรมดามาก (≥1/10) ธรรมดา (≥1/100 ถึง <1/10) ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียถ่ายเหลว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดร้อนคัน บวม หรือมีผื่นแดง บริเวณที่ฉีด เหนื่อยง่าย ปวดเมื่อยตัว มีไข้ ไข้หนาวสั่น อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่
อัพเดทข้อมูล  :  14/10/2564
แหล่งที่มา  :  องค์การอนามัยโลก
20 มกราคม 2564

หัวข้อวิจัย   :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 แอสตร้าเซนเนก้า เป็นยาควบคุมพิเศษ

Vaccines   :

แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป)
หัวข้อวิจัย  :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรองวัคซีนโควิด19 แอสตร้าเซนเนก้า เป็นยาควบคุมพิเศษ
ชนิดวัคซีน  :  แอสตร้าเซนเนก้า (ทวีปยุโรป)
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้

กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับผู้มีอายุ 18 ขึ้นไป

จำนวนโดส

2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม

4 – 12 สัปดาห์

ข้อห้าม

ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีนนี้

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 15 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน
  2. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน
  3. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  4. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีข้อมูลว่าผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่กำลังรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันจะมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเหมือนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติหรือไม่
อัพเดทข้อมูล  :  24/10/2564
31 ธันวาคม 2563

หัวข้อวิจัย   :

ความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีน BNT162b2 mRNA Covid-19 (ไฟเซอร์)

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  ความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีน BNT162b2 mRNA Covid-19 (ไฟเซอร์)
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินผลความปลอดภัย การตอบสนองภูมิคุ้มกันและประสิทธิศักย์ของวัคซีน BNT162b2 (ไฟเซอร์) ขนาด 30 ไมโครกรัม ในการป้องกันโรคโควิด19 ในผู้ทีมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป

วิธีการวิจัย  : 

การสุ่มแบบมีกลุ่มที่ได้วัคซีนเทียบกับวัคซีนหลอก, ประชากรทั่วไปอายุ 16 ปีขึ้นไป ในหลายประเทศ, ระยะเวลาศึกษา 27 ก.ค. 63-14 พ.ย. 63

ผลการวิจัย  : 
  • อาการข้างเคียงรุนแรงทั้งหมด 4 เหตุการณ์ (0.02%) คือการบาดเจ็บ, ต่อมน้ำเหลืองโต, หัวใจเต้นผิดจังหวะ (กลับเป็นปกติได้เอง) และอาการชาขาขวา, ไม่พบการเสียชีวิต
  • ป้องกันการติดเชื้อที่ 7 วันหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 95.0%
  • ป้องกันการป่วยรุนแรง (หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 1): 88.9%
ข้ออภิปราย  : 
  • ข้อมูลมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบไม่บ่อย
  • ข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิศักย์หลังจากสองเดือนของการฉีดวัคซีนเข็มที่สองยังเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป
  • ไม่มีข้อมูลประสิทธิศักย์ของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อชนิดไม่มีอาการและในการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
  • ไม่มีข้อมูลประสิทธิศักย์ของวัคซีนในการป้องกันการเกิดโรคโควิด19
  • ในกลุ่มประชากรอื่นเช่น วันรุ่นที่อายุต่ำกว่า 16 ปี เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อัพเดทข้อมูล  :  09/11/2564
31 ธันวาคม 2563

หัวข้อวิจัย   :

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดแรก - วัคซีนไฟเซอร์

Vaccines   :

ไฟเซอร์
หัวข้อวิจัย  :  องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้ฉุกเฉินของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดแรก - วัคซีนไฟเซอร์
ชนิดวัคซีน  :  ไฟเซอร์
จุดประสงค์  : 

วิธีการวิจัย  : 

ผลการวิจัย  : 

ข้ออภิปราย  : 

ข้อบ่งใช้
กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งเกิดจากไวรัส SARS-Cov-2 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป

จำนวนโดส
2 เข็ม

ระยะห่างระหว่างเข็ม
อย่างน้อย 21 วัน

ข้อห้าม
มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

ข้อควรระวัง

  1. ภาวะภูมิไวเกินและภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน – ผู้ได้รับวัคซีนควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 15 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน
  2. ภาวะวิตกกังวลต่อการได้รับวัคซีน – ควรระวังการบาดเจ็บจากอาการเป็นลมซึ่งเกิดจากภาวะดังกล่าว
  3. โรคร่วม – ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนในผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันหรือเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
  4. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ – ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  5. ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง – ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อัพเดทข้อมูล  :  14/10/2564
แหล่งที่มา  :  องค์การอนามัยโลก
15 ตุลาคม 2563

หัวข้อวิจัย   :

ความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันโควิด19 ชนิดเชื้อตาย ซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV): การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม แบบปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง ระยะที่ 1/2

Vaccines   :

ซิโนฟาร์ม
หัวข้อวิจัย  :  ความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันโควิด19 ชนิดเชื้อตาย ซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV): การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม แบบปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง ระยะที่ 1/2
ชนิดวัคซีน  :  ซิโนฟาร์ม
จุดประสงค์  : 

เพื่อประเมินความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีน BBIBP-CorV ในมนุษย์

วิธีการวิจัย  : 
  • การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม แบบปกปิดสองทาง ระยะที่ 1/2
  • ระยะที่ 1: ผู้เข้าร่วม 2 กลุ่ม (18–59 และ ≥60 ปี)
    • สุ่มกำหนดให้รับวัคซีนหรือยาหลอกจำนวน 2 เข็ม ขนาด 2, 4 หรือ 8 ไมโครกรัมในวันที่ 0 และ 28
  • ระยะที่ 2: ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง (อายุ 18–59 ปี)
    • ผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้รับการสุ่ม (1:1:1:1) เพื่อรับวัคซีนจำนวน 1 เข็ม ขนาด 8 ไมโครกรัมในวันที่ 0 หรือ รับวัคซีนจำนวน 2 เข็ม ขนาด 4 ไมโครกรัมในวันที่ 0 และ 14, วันที่ 0 และ 21 หรือ วันที่ 0 และ 28 (การจัดสรร 3:1)
  • ผลลัพธ์หลัก: ความปลอดภัย และความคงทน
  • ผลลัพธ์รอง: การสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งประเมินจากระดับการตอบสนองของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2
ผลการวิจัย  : 
  • ระยะที่ 1: ผู้เข้าร่วม: 192
    • 29% ของผู้รับวัคซีน รายงานอาการไม่พึงประสงค์ภายใน 7 วันแรกของการฉีดวัคซีน
    • อาการไม่พึงประสงค์จากระบบที่พบได้บ่อยที่สุด: มีไข้
      • อายุ 18–59 ปีพบ 4% ในกลุ่ม 2 ไมโครกรัม, 4% ในกลุ่ม 4 ไมโครกรัม และ 8%]ในกลุ่ม 8 ไมโครกรัม
      • อายุ ≥60ปีพบ 4% ในกลุ่ม 8 ไมโครกรัม
    • อาการไม่พึงประสงค์ทั้งหมดมีความรุนแรงน้อยหรือปานกลาง
    • ไม่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงภายใน 28 วันหลังการฉีดวัคซีนในกลุ่มที่ฉีดวัคซีน
    • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน (GMT) ของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สูงขึ้นในวันที่ 42 ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน เมื่อเทียบกับกลุ่มวัคซีนหลอก
      • กลุ่มอายุ 18–59 ปี (87.7 ในกลุ่ม 2 ไมโครกรัม, 211.2 ในกลุ่ม 4 ไมโครกรัม และ 228.7 ในกลุ่ม 8 ไมโครกรัม)
      • กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (80.7 ในกลุ่ม 2 ไมโครกรัม, 131.5 ในกลุ่ม 4 ไมโครกรัม และ 170.87 ในกลุ่ม 8 ไมโครกรัม)
      • กลุ่มวัคซีนหลอก (2.0)
  • ระยะที่สอง: ผู้เข้าร่วม 448
    • 23% ของผู้รับวัคซีน รายงานว่ามีอาการไม่พึงประสงค์ภายใน 7 วันแรกของการฉีดวัคซีน
    • อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ทั้งหมดมีความรุนแรงน้อยหรือปานกลาง
    • อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยที่สุด: ไข้ (4% ในกลุ่ม 4 ไมโครกรัมวัน 0 และ 21, 2 % ในกลุ่ม 4 ไมโครกรัม วันที่ 0 และ 28)
    • ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกัน (GMT) ของแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในวันที่ 28 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่ม 4 ไมโครกรัม วันที่ 0 และ 21 (282.7) และวันที่ 0 และ 28 (218.0)
ข้ออภิปราย  : 
  • การให้วัคซีนเชื้อตาย BBIBP-CorV มีความปลอดภัยและยอมรับได้ในทุกขนาดยาที่ทดสอบในสองกลุ่มอายุ
  • กระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโรค SARS-CoV-2 ในผู้ที่รับวัคซีนทุกกลุ่มในวันที่ 42
  • การฉีดวัคซีนจำนวน 2 โดส ขนาด 4 ไมโครกรัมในวันที่ 0 และ 21 หรือวันที่ 0 และ 28 สามารถกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโรค SARS-CoV-2 ได้สูงกว่าการฉีดเพียง 1 โดส ขนาด 8 ไมโครกรัมหรือ 4 ไมโครกรัมในวันที่ 0 และ 14

หมายเหตุ:

ข้อจำกัด
1. ระยะเวลาในการติดตามสั้น
2. การขาดการทดสอบความปลอดภัยและภูมิคุ้มกันในเด็กและวัยรุ่น

อัพเดทข้อมูล  :  16/11/2564
แหล่งที่มา  :  The Lancet Journal
ผลงานวิจัยวัคซีน

โควิด 19

มีงานวิจัยพูดถึงวัคซีนตัวสำคัญอย่างไรบ้างจนถึงปัจจุบัน
ทั้งหมด : 95 ฉบับ
อัพเดทล่าสุด 23/03/2565
คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติม